วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 7:36 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> รอมฎอนเดือนแห่งการเตรียมเสบียงบุญ
รอมฎอนเดือนแห่งการเตรียมเสบียงบุญ

รอมฎอนเดือนแห่งการเตรียมเสบียงบุญ

คุตบะฮ์วันศุกร์

เรื่อง รอมฎอนเดือนแห่งการเตรียมเสบียงบุญ

   อาจารย์อาลี  กองเป็ง

اَلْحَمْدُ للهِ الَّذِيْ فَضَّلَ أَوْقَاتِ رَمَضَانَ عَلٰى غَيْرِهٖ مِنَ الأَزْمَانِ، وَأَنْزَلَ فِيْهِ الْقُرْآنَ هُدًى وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدٰى وَالْفُرْقَانِ ، أَحْمَدُهُ سُبْحَانَهُ وَأَشْكُرُهُ وَأَشْهَدُ أَنْ لَا إِلٰهَ إِلَّا اللّٰهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيْكَ لَهُ، وَأَشْهَدُ أَنَّ نَبِيَّنَا مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ،الَّذِيْ كَانَ يَخُصُّ رَمَضَانَ بِمَا لَمْ يَخُصْ بِهٖ غَيْرَهٖ مِنْ صَلَاةٍ وَتِلَاوَةٍ وَصَدَقَةٍ وَبِرٍّ وَإِحْسَانٍ، اللّٰهُمَّ صَلِّ عَلَيْهِ وَعَلٰى آلِهٖ وَأَصْحَابِهٖ الطَّاهِريْنَ الَّذِيْنَ آثَرُوْا رِضَا اللّٰهِ عَلٰى شَهَوَاتِ نُفُوْسِهِمْ فَخَرَجُوْا مِنَ الدُّنْيَا مَأْجُوْرِيْنَ، وَعَلٰى سَعْيـِهِمْ مَشْكُوْرِيْنَ،  وَسَلِّمْ تَسْلِيْماً كَثِيْراً إِلٰى يَوْمِ الدِّيْنِ، أَمَّا بَعْدُ : فَيَا عِبَادَ اللّٰهِ أُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ بِتَقْوٰى اللّٰهِ ، فَهِيَ جِمَاعُ الْخَيْرِ كُلِّهِ فَاجْعَلُوْا بَيْنَكُمْ وَبَيْنَ عَذَابِ اللّٰهِ وِقَايَةً بِفِعْلِ الْأَوَامِرِ وَتَرْكِ الْنَوَاهِيْ، فَقَدْقَالَ اللهُ تَعَالَى فِي كِتَابٍ مُبِيْنٍ، يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوْا رَبَّكُمُ الَّذِيْ خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ وَخَلَقَ مِنْهَا زَوْجَهَا وَبَثَّ مِنْهُمَا رِجَالاً كَثِيْراً وَنِسَاءً ، واتَّقُوْا اللّٰهَ الَّذِي تَسَاء لُوْنَ بِهٖ وَالْأَرَحَامَ إِنَّ اللّٰهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقَيْباً. صدق الله العظيم

ท่านพี่น้องผู้ร่วมศรัทธาที่รักทั้งหลาย

โปรดทราบเถิดว่า อัลลอฮ์ทรงประทานเนี๊ยะอ์มัตแก่พวกเราด้วยการประทานเทศกาลแห่งการประกอบคุณงามความดี เวลาที่เพิ่มพูน และทวีคูณของผลบุญแห่งการฏออัตต่อพระองค์ เทศกาลที่มีคุณค่านี้นามว่า:  شَهْرُ رَمَضَانَ مُبَارَكٌ เดือนรอมฎอนมุบาร๊อก ทรงประทานให้บ่าวของพระองค์ได้คงอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งเดือนซึ่งมีเกียรติยิ่ง แล้วพระองค์ทรงประทานให้เดือนนี้ถูกบรรจุไปด้วยภาคผลของการทำความดีต่างๆและคุณค่าของการประกอบอิบาดะฮ์ทวีคูณยิ่ง เดือนนี้พิเศษกว่าเดือนอื่น ๆ ซึ่งเป็นการเฉพาะหรือลักษณะพิเศษที่หลากหลาย ดั่งที่อัลลอฮ์ตรัสว่า:

البقرة١٨٥ { شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِيْ أُنْزِلَ فِيْهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الُهُدٰى وَالْفُرْقَانِ }

“เดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา เป็นแนวทางชี้นำสำหรับมนุษย์และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ”

เดือนซึ่งอัลลอฮ์ทรงประดับตกแต่งสรวงสวรรค์ เป็นเดือนซึ่งเหล่าชัยฏอนมารร้ายถูกพันธนาการไว้ บรรดาประตูสวรรค์ถูกเปิด ประตูนรกถูกปิด มีคืนหนึ่งเป็นคืนที่ทรงเกียรตินามว่า لَيْلَةُ الْقَدْرِ ลัยละตุ้ลก็อดร์ อะมั้ลที่ดีๆนั้น خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ จะทวีคูณกว่าพันเดือน

مَنْ حُرِّمَ خَيْرَهَا فَقَدْ حُرِّمَ الْخَيْرُ كُلُّهُ وَمَنْ قَامَهُ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا، غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ

“ผู้ใดละเลยความดีของมันไป แน่นอนความดีทั้งหมดก็ถูกหักล้างไปหมดเกลี้ยง และผู้ดำรงค์ไว้ซึ่งการทำอะมั้ลที่ดีด้วยความศรัทธา และหวังความโปรดปรานด้วยใจที่เชื่อมั่น อัลลอฮ์ก็ทรงอภัยแก่ผู้นั้นจากบาปกรรมต่าง ๆ ของเขาที่ผ่านมา”

นอกจากนี้จะมีอะไรที่เป็นความปรารถนายิ่งสำหรับปวงบ่าวยิ่งกว่าการได้รับอภัยโทษจากอัลลอฮ์เสียอีกเล่า แต่ละคืนในเดือนรอมฎอน อัลลอฮ์ทรงปลดปล่อยผู้ถูกพันธนาการจากชาวนรก และยังคงอภัยโทษแก่ผู้ถือศีลอดในช่วงท้าย ๆ ของคืนนั้นอีก มวลเหล่ามะลาอิกะฮ์จะได้ทำการอิสติฆฟาร (ขออภัยโทษ) ให้ผู้ถือศีลอดจนถึงเวลาที่เขาละศีลอดเลยทีเดียว ดุอาอ์ผู้ถือศีลอดถูกตอบรับในทุก ๆ ดุอาอ์ของเขา กลิ่นปากผู้ถือศีลอด มีกลิ่นหอม ณ ที่อัลลอฮ์ยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง

พี่น้องร่วมศรัทธาที่รักทุกท่าน เราควรแสวงหาและมุ่งมั่น พยายามฉกฉวยวัน เวลา แม้แต่ชั่วโมงหรือวินาทีที่มีค่านี้ อะมั้ลที่ยิ่งใหญ่ในเดือนรอมฎอน ซึ่งรองลงมาจากการละหมาดนั้น คือ การถือศีลอด อัลลอฮ์ทรงบัญญัติเพื่อให้ทุกๆคนได้มีความตักวา (ความยำเกรง) และผลพลอยได้คือการปฏิรูปร่างกายมนุษย์ได้สุขภาพที่ดี ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า:

“صُوْمُوْا تَصِحُّوْا” رواه الطبراني

“ท่านทั้งหลาย จงถือศีลอดแล้วสุขภาพของพวกท่านก็จะดี”

ยิ่งกว่านั้นรอมฎอนยังเป็นเดือนที่ให้คนได้เข้าโหมดของความเป็นคนที่มีคุณค่า มีคุณภาพด้วยการศอบัรอดทนขันติ และมันเป็นบัญญัติเพื่อให้มนุษย์ได้บ่มนิสัยตัวเอง ขจัดขยะมูลฝอยที่โสโครก พร้อมด้วยขัดเกลาจิตใจจากความโสมมทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความเคยชินจนเป็นนิสัยติดตัว ดังนั้นการถือศีลบวกกับอดทน อดกลั้น มันจะสลายอารมณ์ใฝ่ต่ำ นามว่า “นัฟซูอัมมารอฮ์” อาจเรียกว่า เป็นบททดสอบเพื่อจะได้ทราบว่าผู้ใดมีอิหม่านที่สมบูรณ์ การถือศีลอดเป็นสื่อที่ชี้ชัดถึงการมีความตักวาที่แท้จริง อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า :

{ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ } البقرة١٨٣

“โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้เคยถูกกำหนดแก่กลุ่มชนก่อนพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง”

ดังนั้นจงได้มีความยำเกรงอัลลอฮ์เถิด ด้วยการถือศีลอดแบบมีคุณภาพโดยมิได้เพียงแต่สร้างภาพ การถือศีลอด มิใช่เพียงแต่งดเว้นการกินการดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ในเวลากลางวัน หรือการหาความสุขสำราญเท่านั้น แต่ต้องพร้อมไปด้วยยับยั้งสิ่งซึ่งไร้สาระต่าง ๆ ทั้งวาจา นิสัยใจคอ ก้าวร้าว จาบจ้วง ทะเลาะวิวาทโต้เถียงที่ไม่มีความชอบธรรม มิฉะนั้น การถือศีลอดของเราที่เจือปนไปด้วยขยะที่สกปรก ก็เป็นเพียงแต่การอดอาหารเท่านั้น ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า :

“كَمْ مِنْ صَائِمٍ لَيْسَ لَهُ مِنْ صِيَامِهٖ إِلَّا الْجُوْعُ وَ الْعَطَشُ ” صحيح أخرجه النسائي

“กี่มากน้อยแล้ว ผู้ที่ถือศีลอดไม่ได้เกิดอะไรจากการถือศีลอดของเขาเลย นอกจากความหิวและความกระหาย”

ท่านญาบิรร่อฎิยั้ลลอฮุ่อันฮ์ กล่าวว่า :

” إِذَا صُمْتَ فَلْيَصُمْ سَمْعَكَ وَبَصَرَكَ وَلِسَانَكَ عَنِ الْكَذْبِ وَالْمَحَارِمِ وَدَعْ أَذَى الْجَارِ وَلْيَكُنْ عَلَيْكَ سَكِيْنَةٌ وَوِقَارٌ وَلَا تَجْعَلْ يَوْمَ صَوْمِكَ وَيَوْمَ فِطْرِكَ سَوَاءً”

“เมื่อท่านถือศีลอด จงยับยั้งการฟัง การมองและลิ้นของท่านจากการมุสา และสิ่งต้องห้าม จงหลีกเลี่ยงการก่อความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน จงมีความสุขุมคัมภีร์ภาพ ความสงบเสงี่ยม และจงอย่าให้วันถือศีลอดของท่านกับวันที่ท่านไม่ได้ถือศีลอดเหมือนกันเลย”

มีหญิงคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติอะมั้ลที่ดีมากมาย ถือศีลอดเวลากลางวัน ละหมาดในยามค่ำคืน แต่นางสร้างความเดือดร้อนไปทั่วด้วยวาจาของนาง ท่านนบี (ศ็อลฯ) ตอบว่า :  هِيَ فِي النَّارِ”رواه أحمد “นางคือชาวนรก”

พี่น้องร่วมศรัทธาครับ

หลายคนลงไปอยู่ในกุโบรแล้ว เขาเหล่านั้นเคยร่วมถือศีลอดกับพวกเรา ซึ่งเขาเหล่านั้นได้รับผลตอบแทนที่ดี คิดว่าเขาเหล่านั้นอยากฟื้นขึ้นมาถือศีลอด แต่ปีนี้เขาไม่ได้ถือศีลอด ซึ่งพวกเรายังมีชีวิตอยู่ ก็รีบฉวยโอกาสอย่าปล่อยโอกาสให้หลุดลอยไปโดยไร้วาสนา ผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แต่ไม่ถือศีลอด ลักษณะนี้เรียกว่า มีโอกาส แต่ขาดวาสนา โปรดได้ขอบคุณ (ชุโกร) และสรรเสริญพระองค์อัลลอฮ์ ด้วยการให้เดือนรอมฎอนเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ โดยมีเจตนาดี ทำดี สั่งสมอะมั้ลที่ดีไว้ จากอะมั้ลที่ดีนั้นคือ : การถือศีลอด ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า:

” كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ يُضَاعَفُ لَهُ الْحَسَنَةُ بِعَشْرِ أَمْثَالِهَا إِلىٰ سَبْعِمِائَةِ ضِعْفٍ، قَالَ اللّٰهُ سُبْحَانَهُ: «إِلَّا الْصَوْمَ فَإِنَّهُ لِيْ وَأَنَا أَجْزِي بِهٖ» رواه ابن ماجه

“ทุก ๆ อะมั้ลของลูกหลานอาดัม จะทวีคูณให้แก่ความดีหนึ่งของเขาเท่ากับสิบความดี จนถึงเจ็ดร้อยเท่า อัลลอฮ์ตรัสว่า : เว้นแต่การถือศีลอด แท้จริงมันนั้นเป็นของข้า แล้วข้าจะตอบแทนเอง”

อีกประเด็นหนึ่ง

ละหมาดในยามค่ำคืน เช่น ละหมาดตะรอเวียะห์ ตะฮัดญุด วิเตร ซึ่งอิบาดะฮ์เหล่านี้ เป็นอิบาดะฮ์ที่ท่านนบี (ศ็อลฯ) รับรองว่า :

” مَنْ قَامَ إَيْمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهٖ”رواه البخاري

“ผู้ใดยืนขึ้นละหมาดด้วยอีหม่าน และมั่นใจในความโปรดปราณของอัลลอฮ์ หวังในพระเมตตาของพระองค์ เขาได้ถูกอภัยจากโทษทันต์ของเขาที่มีก่อนมา”

ขอเรียนว่า บรรดาชนสลัฟให้ความสำคัญของการละหมาดในยามค่ำคืนถึงกับบางท่านพยุงตัวเองด้วยไม้เท้าเพื่อทำการละหมาดให้สามารถทำละหมาดได้ตลอดคืน บางท่านไม่ปล่อยผ่านและคงอยู่กับการทำความดีจนถึงแสงอรุณขึ้น เดือนรอมฎอนมีนามชื่ออีกนามชื่อหนึ่งคือ : شَهْرُ الْقُرْآنِ เดือนแห่งอัลกุรอาน ดังนั้นให้เดือนนี้อบอวลไปด้วยเสียงของการอ่านอัลกุรอาน ยิบรออี้ลได้ลงมาทบทวนอัลกุรอานกับท่านนบี (ศ็อลฯ) ในเดือนนี้เช่นกัน ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ท่านได้อ่านอัลกุรอานจนจบ 30 ยุซอ์ในเดือนรอมฎอนถึงหกสิบครั้ง ความดีใครทำ ใครก็ได้ อัลลอฮ์ไม่ทรงอธรรมแก่บ่าวคนใดเลย อัลลอฮ์ตรัสว่า :

(وَمَارَبُّكَ بِظَلَّامٍ لِلْعَبِيْدِ) فصلت٤٦

“และผู้ทรงอภิบาลของเจ้า ไม่เป็นผู้ทรงอธรรมต่อบวงบ่าวของพระองค์”

ดังนั้นเพียงแต่ขอให้ความดีที่เราทำให้มั่นคง เป็นเสบียงบุญของเราจริง ๆ ด้วยการทำดีที่ประกอบไปด้วยอีหม่าน อิคลาศ และศ่อวาบ หากทำดีแต่ไร้ซึ่งอีหม่าน (ศรัทธา) หรือขาดความอิคลาศ (บริสุทธิใจเพื่ออัลลอฮ์)หรือไม่มีศ่อวาบ (ถูกต้องตามหลักชะริอัต) ก็เหมือนการปฏิบัติที่เกิดขึ้น แต่ไร้ประโยชน์และการตอบแทนในวันอาคีเราะฮ์ ซึ่งเรียกว่า ขาดเสบียงบุญนั่นเอง

بَارَكَ اللّٰهُ لِيْ وَلَكُمْ فِي الْقُرْآنِ الْعَظِيْمِ وَنَفَعَنِيْ وَإِيَّاكُمْ بمَا فِيْهِ مِنَ الْآيَاتِ والذِّكْرِ الْحَكِيْمِ أَقُوْلُ قَوْلِيْ هٰذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللّٰهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ فَاسْتَغْفِرُوْهُ وَتُوْبُوْا إِلَيْهِ إِنَّهُ هُوَ التَّوَابُ الرَّحِيْمُ

ดาวน์โหลด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top