วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 11:19 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> มหันตภัยจากทรัพย์ที่ฮารอม
มหันตภัยจากทรัพย์ที่ฮารอม

มหันตภัยจากทรัพย์ที่ฮารอม

คุฎบะฮ์วันศุกร์

เรื่อง มหันตภัยจากทรัพย์ที่ฮารอม

   อาจารย์อาลี  กองเป็ง

اَلْحَمْدُ لِله ذِي الْجَلاَلِ وَالْإِكْرَامْ، أَحْمَدُهُ سُبْحَانَهُ هُوَ الْمَلِكُ الْقُدُّوْسُ السَّلاَمْ، وَأَشْكُرُهُ عَلَى مَا حَبَانَا بِهِ مِنَ الْفَضْلِ وَالْإِنْعَامْ، وَأَشْهَدُ أَنَّ لاَ إِلَهَ إِلَّا اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيْكَ لَهْ، اَلَّذِيْ أَوْضَحَ الْأَحْكَامْ، وَبَيَّنَ الْحَلاَلَ وَالْحَرَامْ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهْ، أَفْضَلُ مُرْسَلٍ وَأَكْمَلُ إِمَامٍ، صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ الْأَئِمَّةِ الْأَعْلاَمْ.

أَمَّابَعْدُ:فَيَاعِبَادَاللهِ، اِتَّقُوااللهَ حَقَّ تُقَاتِهِ،وَلاَتَمُوْتُنَّ اِلاَّ وَأَنْتُمْ مُسْلِمُوْنَ.فَقَدْقَالَ اللهُ تَعَالَى فِيْ كِتَابٍ مُبِيْن.والعصر،ان الانسان لفي خسرالاالذين آمنواوعملواالصالحات،وتواصوابالحق وتواصوابالصبر.صدق الله العظيم.

พี่น้องผู้ร่วมศรัทธาที่รัก.

การทุ่มเทเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์และความรักความชอบจนถึงทรัพย์สินนั้น มันคือฏอบีอัตหรือวิสัยที่ติดตัวมนุษยชาติมายาวนาน หรืออาจจะเรียกว่าเป็น “กมลสันดาน”ของมนุษย์ก็ว่าได้,

อัลลอฮ์ตรัสว่า:

(وَتُحِبُّونَ الْمَالَ حُبًّا جَمًّا) الفجر٢٠

และเจ้าทั้งหลายรักทรัพย์กับความรักที่มากล้น.

ดังนั้นการแสวงหาให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ดีย่อมเป็นที่ชื่นชมในหลักชะรีอัต,

ซึ่งพระองค์ทรงสั่งใช้ในคำภีร์กุรอานว่า:

(هُوَ الَّذِيْ جَعَلَ لَكُمُ الْأَرْضَ ذَلُوْلًا فَامْشُوْا فِيْ مَنَاكِبِهَا وَكُلُوْا مِنْ رِزْقِهِ وَإِلَيْهِ النُّشُوْرُ) الملك: ١٥

พระองค์อัลลอฮ์ (สุบฯ) ผู้ทรงสร้างผืนแผ่นดินที่สะดวกสบายให้แก่พวกเจ้า,ดังนั้นเจ้าทั้งหลายจงเดินไปในพื้นแผ่นดินของมัน,และเจ้าทั้งหลายจงบริโภคจากริสกีปัจจัยของพระองค์และยังพระองค์นั้น พวกเจ้าต้องกลับคืน,

ท่านนบี(ศ็อลฯ)ได้กล่าวแก่ท่านอัมร์บินอาศว่า:

“يَا عَمْرو: نِعْمَ الْمَالُ الصَّالِحُ مَعَ الرَّجُلِ الصَّالِحِ”. أخرجه الإمام أحمد في مسنده، وابن حبان في صحيحه.

โอ้ท่านอัมร์ทรัพย์ที่ดีนั้น ย่อมอยู่กับคนที่ดี.

พี่น้องผู้ร่วมศรัทธาที่รัก.

ทรัพย์สินเงินทองซึ่งอัลลอฮ์ทรงประทานไว้ ถือเป็นความชอบในจิตของมนุษย์,

เพื่อเป็นบททดสอบหรือบะลาอ์

ผู้มีจิตเชื่อมั่นในวันที่ถูกสอบสวนเขาจะแสวงหาและจัดสรรปันส่วนจากทรัพย์สินให้เกิดความสมดุลแห่งการได้มาของทรัพย์สินนั้นๆ,

แล้วให้พวกเราได้สำนึกอยู่เสมอว่า:

อัลลอฮ์คือผู้ทรงบัญญัติสิ่งที่ฮาลาลและสิ่งที่ฮารอม,

พระองค์ทรงบัญญัตว่า:

  (يَا أَيُّهَا النَّاسُ كُلُوْا مِمَّا فِي الْأَرْضِ حَلَالًا طَيِّبًا وَلَا تَتَّبِعُوْا خُطُوَاتِ الشَّيْطَانِ إِنَّهُ لَكُمْ عَدُوٌّ مُبِيْنٌ) البقرة: ١٦٨

โอ้มวลเหล่ามนุษย์เจ้าทั้งหลายจงกินสิ่งที่ฮาลาล,ดี,จากสิ่งต่างๆในพื้นดินและห้ามเจ้าทั้งหลายดำเนินตามก้าวเดินของชัยฏอนแท้จริงมันนั้นเป็นศรัตรูที่ชัดเจนของพวกเจ้า,

และพระองค์ตรัสอีกว่า:

 (وَكُلُوْا مِمَّا رَزَقَكُمُ اللَّهُ حَلَالًا طَيِّبًا وَاتَّقُوا اللَّهَ الَّذِي أَنْتُمْ بِهِ مُؤْمِنُوْنَ) المائدة: ٨٨

เจ้าทั้งหลายจงกินจากสิ่งซึ่งฮาลาลที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานเป็นริสกีปัจจัยแก่พวกเจ้าและเจ้าจงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ผู้ซึ่งเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อีหม่านต่อพระองค์.

คำว่าฮาลาลันคือ:

  مُحَلَّلٌ لَكُمْ لَيْسَ مُكْتَسَبًا بِطَرِيْقٍ مُحَرَّمٍ؛ كَالْغَصْبِ، وَالسَّرِقَةِ، وَالرِّبَا، وَالرِّشْوَةِ، وَالغِشِّ، وَالْمُعَامَلَاتِ الْمُحَرَّمَةِ.

มันถูกอนุมัตแก่พวกท่าน,มิใช่ขวนขวายมาด้วยหนทางที่หะรอม,เช่นแย่งชิง,ขโมย,ดอกเบี้ย,สินบนและอาชีพการงานหรือธุรกรรมที่ฮารอม,

ส่วนคำว่าฏ็อยญิบัน

لَيْسَ بِخَبِيْثٍ؛ كَالْمَيْتَةِ، وَلَحْمِ الْخِنْزِيْرِ، وَالْخَمْرِ، وَالْخَبَائِثِ كُلِّهَا.

มิใช่สิ่งที่น่ารังเกียจหรือโสโครกเช่น.ซากตาย,เนื้อสุกร,และสิ่งปฏิกูลต่างๆ,

พี่น้องครับ ผู้แสวงหาทรัพย์ที่สะอาดและยึดอาชีพที่บริสุทธิ์เขาคือผู้คงใว้ซึ่งคำว่าเขาเป็นผู้มีศาสนาในหัวใจ,ชีวิตที่ไร้ขยะไร้มลทิน,จิตที่พอใจตามสิ่งที่มี,ใจซื่อมือสะอาดและที่สำคัญยิ่งคือได้บะรอกัตในริสกีนั้นๆ,

อันที่จริงการให้ความสำคัญกับการบริโภคหรืออุปโภคสิ่งที่ฮาลาลมันคือเครื่องประดับที่งดงามของมุอ์มิน,

ดังท่านนบี(ศ็อลฯ)และเหล่าเศาะฮาบะฮ์,ซึ่งเขาเหล่านั้นจะสั่งเสียกันเป็นเนืองนิจ,ให้พึงระวังสิ่งที่     ฮารอมไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน,หรือสัมมาอาชีพก็ตาม,

ท่านอบูสอีดอั้ลคุดรีย์รายงานจากท่านนบี(ศ็อลฯ)ซึ่งกล่าวว่า:

  “مَنْ أكَلَ طَيِّبًا وَعَمِلَ فِيْ سُنَّةٍ، وَأَمِنَ النَّاسُ بَوَائِقَهُ دَخَلَ الْجَنَّةَ”. رواه الترمذي.

ผู้ใดบริโภคสิ่งที่ดี,ทำตามซุนนะฮ์และบุคคลนั้นปลอดภัยจากความเลวร้ายของมนุษย์,ก็จะได้เข้าสวรรค์.

ท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวว่า:

 “أَرْبَعٌ إِذَا كُنَّ فِيْكَ فَلاَ عَلَيْكَ مَا فَاتَكَ مِنَ الدُّنْيَا: حِفْظُ أَمَانَةٍ، وَصِدْقُ حَدِيْثٍ، وَحُسْنُ خَلِيْقَةٍ، وَعِفَّةٌ فِيْ طُعْمَةٍ”اخرجه أحمدوغيره،

สี่ประการเมื่อมันปรากฏในตัวท่าน,มันก็จะไม่เกิดผลลบในตัวท่านจากดุนยานี้ได้แก่

๑-รักษาไว้อะมานะฮ์

๒-สัจจะวาจา

๓-นิสัยดี

๔-อาหารที่สะอาด

เป็นที่ทราบว่าอัลลอฮ์นั้นดี พระองค์จะไม่รับเว้นแต่สิ่งที่ดี,

คนที่อุปโภคหรือบริโภคของไม่ดี (ฮารอม) อัลลอฮ์จะไม่ทรงรับดุอาอฺที่เขาขอ,

เนื้อหนังมังสาที่เจริญเติบโตขึ้นมาด้วยของฮารอมมันก็เข้าอยู่ในคำสอนของท่านนบีแก่ท่านสะอัดบินอะบีวักก๊อศว่า:

 “يَا سَعْدُ: أَطِبْ مَطْعَمَكَ تَكُنْ مُسْتَجَابَ الدَّعْوَةِ، وَالَّذِيْ نَفْسُ مُحَمِّدٍ بِيِدِهِ؛ إِنَّ الْعَبْدَ لَيَقْذِفُ اللُّقْمَةَ الْحَرَامَ فِيْ جَوْفِهِ مَا يُتَقَبَّلُ اللهُ مِنْهُ عَمَلاً أَرْبَعِيْنَ يَوْمًا، وَأَيُّمَا عَبْدٍ نَبَتَ لَحْمُهُ مِنْ سُحْتٍ فَالنّارُ أوّلَى. بِهِ”.أخرجه الطبراني عن ابن عباس.

โอ้สอัดเอ๋ยท่านจงรับประทานอาหารที่ดี,ดุอาอฺของท่าน(มุสตะญับ)ถูกตอบรับ,ขอสาบานต่อผู้ซึ่งชีวิตของมุฮัมมัดอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ว่า: แท้จริงบ่าวคนหนึ่งที่กลืนกินของที่ฮารอมเพียงคำเดียว อัลลอฮ์จะมิทรงรับอะมัลทีเขาทำถึงสี่สิบวัน,แล้วบ่าวคนใดที่เนื้อหนังมังสาเติบโตขึ้นมาจากของ    ฮารอม,นรกเป็นที่เหมาะสมสำหรับเขา

ขณะเดียวกันการแสวงหาอาหารหรืออาชีพที่ฮาลาลนั้น จะถูกเป็นถามอันดับต้นๆในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ,

ท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวใว้มีความว่า:

 فَلَنْ تَزُوْلَ قَدَمَا عَبْدٍ يَوْمَ الْقِيَامَةِ حَتَّى يُسْأَلَ عْنْ مَالِهِ مِنْ أَيْنَ اكْتَسَبَهُ وَفِيْمَ أَنْفَقَهُ؟!

 สองเท้าของบ่าวนั้น อัลลอฮ์จะยังไม่กระชับนิ่งในวันกิยามัตจนกว่าเขาจะถูกสอบสวนเรื่องทรัพย์สินของเขา,ว่าเขาได้มาอย่างไรและใช้จ่ายไปในทางใด.

ท่านเคาะลีฟะฮ์อะบูบักร์อัศศิดดีกเผลอไปทานอาหารของเด็กรับใช้ที่ได้นำมาให้ท่าน,เด็กรับใช้เอ่ยขึ้นว่า:ท่านทราบหรือไม่ว่าอาหารนี้มาจากใหน?

ความจริงฉันได้มันมาด้วยการทำนายทายทักในขณะยังอยู่ในยุคญาฮิลียะฮ์,มันไม่จริงเลย,ฉันหลอกลวงพวกเขา,พวกชื่นชมและชอบมันและแล้วก็ได้มอบอาหารนี้มา,

ครั้นเมื่อท่านเคาะลีฟะฮ์ได้ทราบดังกล่าว,ท่านได้เอามือล้วงไปในลำคอของท่านแล้วก็อวกอาหารนั้นออกมา ,

มีบางรายงานว่า: ท่านเคาะลีฟะฮ์กล่าวว่า:

“لَوْ لَمْ تَخَرُجْ إِلاَّ مَعَ نَفْسِيْ لَأَخْرَجْتُهَا….الحديث) أخرجه البخاري.

หากมันไม่ออกมา เว้นแต่มันออกมาพร้อมกับชีวิตฉัน,ฉันก็จะนำมันออกมา,

ท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัรบินค๊อฏฏ๊อบได้ดื่มนมซึ่งท่านชอบ เสร็จแล้วท่านนึกขึ้นได้จึงเอ่ยถามผู้เทนมให้ท่านดื่มว่า : ท่านได้มาแต่ใดกัน?ผู้นั้นตอบว่า : ฉันพบอูฐฝูงหนึ่งไม่รู้ว่าเป็นของผู้ใดแล้วฉันก็ได้รีดนมอูฐนั้นมาท่านเคาะลีฟะฮ์จึงล้วงคอด้วยมือของท่านเพื่อให้อวกนมนั้นออกมา

หญิงศอลิหะฮ์นางหนึ่งได้วะศิยัตสามีของนางว่า:

 “يَا هَذَا: اِتَّقِ اللهَ فِيْ رِزْقِنَا؛ فَإِنَّنَا نَصْبِرُ عَلَى الْجُوْعِ وَلاَ نَصْبِرُ عَلَى النَّارِ”.

โอ้สามีของข้าท่านจงกลัวอัลลอฮ์ในริสกีของพวกเรา แท้จริงพวกเราอดทนบนความหิวแต่พวกเรามิอาจอดทนไฟนรกได้

นี้ละครับคือ ความวะรออ์ กลัวอัลลอฮ์ กลัวตกอยู่ในของชุบฮัตของเหล่าคนซอและห์

หากเป็นเช่นนี้กับพี่น้องที่เรารักกัน ยังคงจงใจมุ่งสู่ยังสิ่งฮารอม,ท้องของเขาและครอบครัวของเขาเต็มไปด้วยของฮารอม,

ท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวว่า:

 “لَيَأْتِيَنَّ عَلَى النَّاسِ زَمَانٌ لَا يُبَالِيْ الْمَرْءُ بِمَا أخذَ الْمَالَ أمِنَ الْحَلاَلِ أَمْ مِنَ الْحَرَامِ”. رواه البخاري.

ในยุคสมัยหนึ่ง จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ คือ ยุคสมัยซึ่งคนจะไม่ใส่ใจว่า ทรัพย์สินที่ได้มานั้น มันมาจาก   ฮาลาลหรือฮารอม,

คือขอเอาไว้ก่อน จะฮาลาลหรือฮารอมก็ชั่ง พี่น้องครับ การคลุกคลีกับของชุบฮัตหรือของฮารอมนั้น ถึงขั้นอุละมาอฺได้ฟัตวาว่า:

(مَرْدُوْدَةٌ وًغَيْرُمًقْبُوْلَةٍ)

ถึงแม้จะเศาะดะเกาะฮ์สินทรัพย์ที่มาจากเรื่องฮารอม ก็มิอาจถูกตอบรับ ณ ที่อัลลอฮ์

ท่านอิบนุอุมัรรายงานจากท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวว่า:

  “لاَ يَقْبَلُ اللهُ صَلاَةً بِغَيْرِ طُهُوْرٍ، وَلاَ صَدَقَةً مِنْ غُلُوْلٍ”. رواه مسلم.

อัลลอฮ์มิทรงรับละหมาดโดยไร้เฎาะฮาเราะฮ์,และก็มิทรงรับการเศาะดะเกาะฮ์จากทรัพย์ที่ยักยอกมา

แล้วอีกส่วนหนึ่งจากชะรีอัตของอิสลามได้บัญญัติห้าม,แต่มีอีกหลายคนจากพี่น้องของเรา,ยังคลุกเคล้าเหมารวมว่าเป็นทรัพย์สมนาคุณ,ซึ่งความจริงแล้วมันคือทรัพย์สินที่ฮารอม,นั้นคืออัรริชวะฮ์,

ท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวว่า:

اَلرَّاشِيْ وَالْمُرْتَشِيْ فِيْ النَّارِ.أخرجه الطبراني عن ابن عمر.

 คนกินสินบาทคาดสินบนและคนให้สินบนคาดสินบนลงนรกทั้งสิ้น.

เพียงเงินทองทรัพย์สินที่ฮาลาลซึ่งเราสะสมใว้ก็มิอาจไปติดสินบนต่อมุงกัรนะกีรในกุโบรได้,

แล้วจะอะไรกับเงินหรือทรัพย์ที่ได้มาจากหนทางที่ฮารอม

بَارَكَ اللهُ لِيْ وَلَكُمْ فِي الْكِتَابِ وَالسُّنَّةِ، وَنَفَعَنَا بِمَا فِيْهِمَا مِنَ الْآيَاتِ وًالْحِكْمَةِ، أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا، وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ تَعَالَى لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِالْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَالْغَفُوْرُحِيْمٌ

ดาวน์โหลด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top