คุฎบะฮ์วันศุกร์
เรื่อง ความอธรรม (الظُلْم)
อ.กอเซ็ม มั่นคง
إِنَّ الْحَمْدَ للهِ نَحْمَدُهُ وَنَسْتَعِيْنُهُ وَنَسْتَغْفِرُهُ وَنَعُوْذُ بِاللهِ مِنْ شُرُوْرِ أَنْفُسِنَا وَسَيّئَاتِ أَعْمَالِنَا مَنْ يَهْدِهِ اللهُ فَلاَ مُضِلَّ لَهُ ، وَمَنْ يُضْلِلْهُ فَلاَ هَادِيَ لَهُ، اَلْحَمْدُ ِللهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ القَائِلِ : (قُلْ اِنَّ الْمَوْتَ الَّذِيْ تَفِرُّوْنَ مِنْهُ فَاِنَّهٗ مُلٰقِيْكُمْ ، ثُمَّ تُرَدُّوْنَ اِلٰى عَالِمِ الْغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ فَيُنَبِّئُكُمْ بِمَا كُنْتُمْ تَعْمَلُوْنَ) سورة الجمعة /۸ أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلهَ إِلاّ اللهُ وَأَشْهَدُ أَنّ مُحَمّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ ،
صَلَّى اللهُ عَلَى أَشْرَفِ الأَنْبِيَاءِ وَالْمُرْسَلِيْنَ نَبِيِّنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ وَمَنْ سَارَ عَلَى نَهْجِهِ القَوِيْمِ ، وَدَعَا إِلَى الصِّرَاطِ الْمُسْتَقِيْمِ إِلَى يَوْمِ الدِّيْنِ وَسَلَّمَ تَسْلِيْمًا كَثِيْرًا
أَمَّا بَعْدُ ، فَيَا عِبَادَ اللهِ أُوْصِيْكُمْ وَإِيَّايَ بِتَقْوَى اللهِ فَقَدْ فَازَ الْمُتَّقُوْنَ
ขอความสุขสันติจงประสบแด่ผู้ศรัทธาทุกท่าน ขอขอบคุณ (ชุโก๊ร) ต่ออัลลอฮ์ ซุบฯ ที่พระองค์ได้ทรงสร้างเรามาเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ และได้ประทานทางนำให้เราได้อยู่ในศาสนาของพระองค์ และเป็นประชาคม (อุมมะฮ์) ของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ
พี่น้องผู้ศรัทธาที่รักทั้งหลาย
การใช้ชีวิตในโลกนี้ (ดุนยา) ของพวกเราก็เพื่อเตรียมความพร้อมไปสู่โลกหน้า (อาคีเราะฮ์) หากแม้นเราใช้ชีวิตในโลกนี้ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ ปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงใช้และห่างไกลจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม เราก็จะกลับไปสู่พระองค์ในฐานะผู้ที่ประสบผลสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เราต้องรำลึกเสมอว่า การกระทำของเราอยู่ในสายตาของพระองค์ตลอดเวลา ความดีหรือความชั่วจะถูกบันทึกไว้ทั้งหมด เช่น บางคนประสบกับความสมหวังทุกอย่างในโลกนี้ แต่อาจเป็นผู้ที่ขาดทุนในโลกหน้าก็ได้ ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า
وَلاَ تَحْسَبَنَّ اللَّهَ غَافِلاً عَمَّا يَعْمَلُ الظَّالِمُونَ إِنَّمَا يُؤَخِّرُهُمْ لِيَوْمٍ تَشْخَصُ فِيهِ الأَبْصَارُ (سورة إبراهيم : 42)
ความว่า “และเจ้าอย่าคิดว่าอัลลอฮ์ทรงละเลยต่อสิ่งที่พวกอธรรมปฏิบัติ แท้จริงพระองค์ทรงประวิงเวลาให้พวกเขาจนถึงวันที่สายตาจ้องเงยไม่กระพริบ (วันกิยามะฮ์)”
พระองค์อัลลอฮ์ ซุบฯ ได้เตือนผู้ศรัทธทั้งหลายว่า อย่าได้หลงระเริงในความสุขต่าง ๆ ในโลกนี้ (ดุนยา) ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง ตำแหน่งหน้าที่การงาน เพราะทั้งหมดนั้น เป็นการทดสอบจากพระองค์อัลลอฮ์ ซุบฯ ในขณะเดียวกันต้องระลึกเสมอว่า เรานั้นยังต้องพึ่งพาอัลลอฮ์ ซุบฯ และพระองค์ได้ตรัสว่า
يَا أَيُّهَا النَّاسُ أَنتُمُ الْفُقَرَاء إِلَى اللَّهِ وَاللَّهُ هُوَ الْغَنِيُّ الْحَمِيدُ (سورة فاطر : 15)
ความว่า “โอ้ มนุษย์เอ๋ย..! พวกเจ้าเป็นผู้ขัดสนต้องการพึ่งพาอัลลอฮฺ แต่อัลลอฮฺนั้น พระองค์ทรงมั่งมีอย่างล้นเหลือ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ”
การใช้ชีวิตของมุอ์มินในโลกดุนยาต้องระมัดระวังตัวที่จะไม่ให้ตกไปอยู่ในสภาพที่ล้มละลายในอาคีเราะฮ์ ต้องระมัดระวังการอธรรม (الظُلْم) เพราะการอธรรมใด ๆ มันจะเป็นความมืดบอดในวันกิยามะฮ์ ดังที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ กล่าวว่า
( اِتَّقُوا الظُّلْمَ، فإنَّ الظُّلْمَ ظُلُمَاتٌ يَومَ القِيَامَةِ ، وَاتَّقُوا الشُّحَّ ، فَإِنَّ الشُّحَّ أهْلَكَ مَن كاَنَ قَبْلَكُمْ )
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงเกรงกลัวอธรรม (الظُلْم) เพราะแท้จริงแล้วการอธรรม (ซอเหล่ม) เป็นความมืดในวันกียามะฮ์ และจงเกรงกลัวการตระหนี่ (ไม่ใช่จ่ายในแนวทางของอัลลอฮ์) แท้จริงการตระหนี่ได้สร้างความวิบัติกับผู้คนก่อนพวกเจ้า”
การอธรรมใด ๆ ก็แล้วแต่ย่อมมีผลร้ายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะมันจะขจัดเป้าหมายต่าง ๆ ของมนุษย์ จากการกระทำความดีต่างๆ ให้สูญสลายไป และสุดท้ายจะกลายสภาพเป็นผู้ล้มละลายในวันกิยามะฮ์ ดังที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ กล่าวว่า
أَتَدْرُوْنَ مَا الْمُفْلِسُ؟ قاَلُوْا : الْمُفْلِسُ فِيْنَا مَنْ لاَ دِرْهَمَ له وَلاَ مَتَاعَ، فَقَالَ : إنَّ الْمُفْلِسَ مِن أُمَّتِيْ مَنْ يَأْتِيْ يَومَ القِيَامَةِ بِصَلَاةٍ، وصِيَامٍ، وَزَكَاةٍ، ويَأْتِيْ قَدْ شَتَمَ هَذَا، وقَذَفَ هَذَا ، وأَكَلَ مالَ هَذَا ، وسَفَكَ دَمَ هَذَا ، وضَرَبَ هَذَا ، فيُعْطَى هَذَا مِن حَسَنَاتِهِ ، وَهَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ ، فَإِنْ فَنِيَتْ حَسَنَاتُهُ قَبْلَ أَنْ يُقْضَى ماَ عَلَيْهِ أُخِذَ مِنْ خَطَايَاهُمْ فَطُرِحَتْ عَلَيْهِ ، ثُمَّ طُرِحَ فِيْ النَّارِ
ความว่า “ท่านทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า… อะไรคือความล้มละลาย บรรดาซอฮาบะฮ์กล่าวว่า ผู้ล้มละลายในพวกเราก็คือ คนที่หมดตัวในเงินและทรัพย์สิน ท่านนบี ศ็อลฯ จึงกล่าวว่า ผู้ล้มละลายจากประชาชาติของเราคือ ผู้ที่มาในวันกียามะฮ์ด้วยละหมาด การถือศีลอดและซะกาต ผู้นั้นมาพร้อมกับเขาได้ด่าทอคนนี้คนนั้น ได้ใส่ร้ายคนนี้ ไปกินทรัพย์สินของคนนั้น ได้ทำลายผู้คนบนเลือดเนื้อของเขา ได้ทำร้ายร่างกายคนนี้คนนั้น ความดีต่างๆ ของเขาจึงต้องให้ผู้นี้ผู้นั้นไป ผู้ที่เขาด่าทอ ผู้ที่เขาใส่ร้าย ผู้ที่เขาเอาทรัพย์สินเขามาโดยทุจริต ผู้ที่เขาทำร้าย และหากแม้นว่าความดีต่างๆ ของเขาหมดไปก่อนใช้หนี้จากความผิดต่างๆ ของเขา ก็จะต้องเอาความผิดของผู้คนที่เขาทุจริตมาโยนใส่ตัวเขา และสุดท้ายเขาจะถูกโยนลงสู่ไฟนรก”
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ท่านจงอย่าได้ให้การใช้ชีวิตในโลกดุนยานี้ มาหลอกลวงเราและผู้อื่น ซึ่งจะนำไปสู่การทำลายอิบาดะฮ์ของเรา บางทีการปฏิบัติหน้าที่เราต่ออัลลอฮ์ดีแล้ว แต่อาจลืมไปว่าในโลกใบนี้ เรายังมีหน้าที่กับพี่น้องของเราในเรื่องการสังคม (مُعَامَلاَت) เรื่องสิทธิหน้าที่ของกันและกัน เราต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น ไม่ว่าเรื่องทรัพย์สิน เกียรติยศและสิทธิต่าง ๆ เพราะในวันอาคีเราะฮ์ เราต้องไปพบกับการตัดสินของพระองค์อัลลอฮ์ ซุบฯ ที่ทรงยุติธรรมและเป็นธรรม (อะดาละฮ์) แต่ก่อนที่จะถึงเวลานั้น การใช้ชีวิตในโลกดุนยานี้ เราต้องตระหนักว่า ดุอาอ์ของผู้ที่ได้รับการอธรรม จะถูกตอบรับโดยไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ มีรายงานจากอะบีฮูรอยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ว่า
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ثَلاَثُ دَعَوَاتٍ يُسْتَجَابُ لَهنَّ لاَ شَكَّ فِيْهِنَّ ، دَعْوَةُ الْمَظْلُوْمِ وَدَعْوَةُ الْمُسَافِرِ وَدَعْوَةُ الوَالِدِ لِوَلَدِهِ .
ความว่า “ท่านเราะซูลุลอฮ์ ศ็อลฯ ได้กล่าวว่า สามการวิงวอน(ดุอาอ์) ที่ถูกตอบรับโดยไม่มีสิ่งขวางกั้น ไม่มีสงสัยใด การขอดุอาอ์ของคนที่ถูกอธรรม (ถูกซอเหล่ม) การขอดุอาอ์ของคนเดินทาง และการขอดุอาอ์ของพ่อต่อลูก”
ท่านพี่น้องที่รักทั้งหลาย
สุดท้ายนี้ ขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ ซุบฯ ให้เราและท่านทั้งหลาย อย่าได้ตกอยู่ในสถานะผู้ล้มละลายในโลกหน้า(อาคีเราะฮ์) และขอให้เราและท่านทั้งหลาย รอดพ้นจากการสร้างความอธรรมและถูกอธรรมด้วยเทอญ. อามีน
اَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الْشَيْطَانِ الْرَجِيْمِ ، مَنْ عَمِلَ صَالِحًا فَلِنَفْسِهِ وَمَنْ اَسَاءَ فَعَلْيِهَا، وَمَا رَبُّكَ بِظَلَّامٍ لِلْعَبِيْدِ، أَقُوْلُ قَوْلِي هَذَا وَاسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِي وَلَكُمْ ، وَلِسَائِر الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتَ مِنْ كُلِّ ذَنْبٍ ، وَاسْتَغْفِرُوْهُ اِنَّهُ هُوَ الغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ .