วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2567 23:04 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> หน้าที่ของผู้ที่เป็น “พ่อ”
หน้าที่ของผู้ที่เป็น “พ่อ”

หน้าที่ของผู้ที่เป็น “พ่อ”

หน้าที่ของผู้ที่เป็น “พ่อ”

اَلْحَمْدُ لِلَّهِ بَدِيْعُ اْلاَرْضِ وَالسَّمَاوَاتِ .  يَعِزُّ مَنْ تَمَسَّكَ بِإِشْرَافِ الْعَادَاتِ .  وَيُكْرِمُ مَنْ تَعَلَّقَ باِكْرَامِ الصِّفَاتِ .  وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ نَهَىْ عَنِ التَّشَبُّهِ بِأَهْلِ الْكِتَابِ .  وَ أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ آتَاهُ اللهُ الْحِكْمَةَ وَفَضْلَ الْخِطَابِ .  اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ اُوْلِي اْلأَلْبَاِب .  اَلَّذِيْنَ تَخَلَّقُوْا بِأَخْلاَقِ نَبِيِّهِمْ .  وَتَمَسَّكُوْا بِعَادَات دِيْنِهِمْ  .  وَلَمْ يَسْلُكُوْا سَبِيْلاً غَيْرَسَبِيْلِ الْمُؤْمِنِيْنَ .  فَرَضِيَ اللهُ عَنْهُمْ أَجْمَعِيْنَ .

 أَمَّا بَعْدُ فَيَا عِبَادَ اللهِ .  اُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ أَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ .  فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ :  وَالْعَصْرِ  إِنَّ اْلإِنْسَانَ لَفِيْ خُسْرٍ  إِلاَّ الَّذِيْنَ آمَنُوْا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ  وَتَوَاصَوْا بِالْحَقِّ وَتَوَاصَوْا بِالصَّبْرِ . 

พี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก 

          หน้าที่ของผู้ที่เป็นพ่อที่เป็นมุสลิม คือ เขาต้องเป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งคุณลักษณะของความเป็นพ่อ เริ่มตั้งแต่ก่อนการมีลูกเขาต้องเลือกเฟ้นคนที่มาเป็นคุณแม่ของลูก เมื่อเขารับริสกีที่เรียกว่าลูก เขาต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ ตั้งชื่อของลูกด้วยนามชื่อที่เป็นศิริมงคล เชือดสัตว์ทำอากีเกาะห์ในวันที่ 7 นับจากคลอดออกจากครรภ์มารดา ทำการเข้าสุนัต(คิตาน) ให้ความสงสารเมตตาอาทร เลี้ยงดูด้วยความเต็มใจ อบรมบ่มนิสัยด้วยวัฒนธรรมของอิสลาม รู้และเข้าใจศาสนา ฝึกฝนให้ปฏิบัติของที่เป็นฟัรดูและสุนัตจนเกิดความเคยชิน พร้อมให้ได้รับมารยาทที่ดีงาม เมื่อถึงวัยอันสมควรที่จะมีครอบครัวก็ต้องจัดการให้ หลังจากนั้นถ้าลูกปรารถนาจะคงอยู่ใต้การดูแลของพ่อหรือเอกเทศ ก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ และเขาจะดำเนินชีวิตด้วยลำแข้งของเขาเอง

          อัลลอฮ์ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا أَنفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَارًا وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ عَلَيْهَا مَلائِكَةٌ غِلاظٌ شِدَادٌ لا يَعْصُونَ اللَّهَ مَا أَمَرَهُمْ وَيَفْعَلُونَ مَا يُؤْمَرُونَ :سورة التحريم : الآية  6

          ความว่า  “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา เจ้าทั้งหลายจงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันนั้นคือมนุษย์และหิน มีมาลาอิกะห์ผู้กล้าหาญคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮ์ในสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงห้ามแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามในสิ่งที่ถูกใช้”

          ในอายะห์โองการนี้ ได้ชี้ชัดให้ผู้ที่เป็นพ่อรักษาครอบครัวที่ประกอบด้วยลูกให้รอดพ้นจากไฟนรก ดังกล่าวนี้ด้วยการตออัตต่ออัลลอฮ์และการตออัตต่ออัลลอฮ์จะเกิดขึ้นได้ด้วยการรู้ว่าสิ่งไหนคือความดีและความชั่ว ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นด้วยการเรียนรู้หน้าที่ต่าง ๆ ระหว่างบ่าวและพระเจ้า และสิ่งที่พึงควรมีต่อมนุษย์ด้วยกัน เพื่อความสุขในอาคิเราะห์และ ในโลกดุนยา

          ท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว

أَكْرِمُوْا أَوْلاَدَكُمْ وَأَحْسِنُوْا أَدَبَهُمْ فَإِنَّ أَوْلاَدَكُمْ هَدِيَّةٌ إِلَيْكُمْ :  

رواه ابن ماجه

          ความว่า  “ท่านทั้งหลายจงทำให้มีเกียรติกับบรรดาลูกของพวกท่าน และทำให้พวกเขาทั้งหลายมีมารยาทที่ดีงาม เพราะแท้จริงบรรดาลูกของพวกท่านเป็นของขวัญแก่พวกท่าน

          มนุษย์ที่เกิดมาในโลกดุนยาใบนี้ อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดริสกีให้แก่เขาแล้ว จะยากจะดีจะมีหรือจะจน ไม่ใช่เหตุที่มนุษย์คิดขึ้นเองโดยการริดรอนสิทธิ์ของลูกที่จะลืมตาดูโลก โดยการทำแท้งบ้าง ฆ่าบ้าง ประดุจการกระทำของยุคยาฮิลียะห์ที่ฆ่าลูกและฝังลูกสาวทั้งเป็น

          อัลลอฮ์ตรัสว่า

وَلاَ تَقْتُلُواْ أَوْلادَكُمْ خَشْيَةَ إِمْلاقٍ نَّحْنُ نَرْزُقُهُمْ وَإِيَّاكُم إِنَّ قَتْلَهُمْ كَانَ خِطْءًا كَبِيرًا   : سورة الاسراء : الآية 31

          ความว่า “และพวกเจ้าอย่าฆ่าลูก ๆ ของพวกเจ้า เพราะกลัวความยากจน เราให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา และแก่พวกเจ้าโดยเฉพาะ แท้จริงการฆ่าพวกเขานั้นเป็นความผิดอันใหญ่หลวง

          บรรดานักปราชญ์ได้กล่าวว่า ปัจจัยยังชีพของลูก ๆ และของพวกท่านนั้นเป็นหน้าที่ของอัลเลาะห์ ท่านอย่ากลัวความยากจน เพราะมีลูกมาก การกระทำอย่างนั้นก็ไม่ต่างกับพวกญาฮิลียะห์ ที่ฝังลูกผู้หญิงเพราะกลัวความยากจนและความอับอาย

          ท่านนบีมูฮำหมัด(ศ็อลฯ) ถูกถามเกี่ยวกับบาปใหญ่นั้นคืออะไร

ท่านนบีมูฮำหมัด(ศ็อลฯ) ตอบว่า

أَنْ تَجْعَلَ لِلَّهِ نِدًّا وَهُوَخَلَقَكَ. وَأَنْ تَقْتُلَ وَلَدَكَ خَشْيَةً أَنْ يَطْعَمَ مَعَكَ . وَأَنْ تُزَانِيَ بِحَلِيْلِ جَارِكَ . :  رواه البخاري ومسلم والنسائي

          ความว่า  “การที่ท่านสร้างภาคีต่ออัลลอฮ์ในสภาพที่อัลลอฮ์เป็นผู้สร้างท่าน และในการที่ท่านฆ่าลูกของท่านเพราะกลัวจะมาแย่งอาหารท่าน และการที่ท่านผิดประเวณี (ซินา) กับภรรยาเพื่อนบ้านของท่าน

          เป็นการแสดงออกจากคำกล่าวของท่านนบีมุฮำหมัด (ศ็อลฯ) แก่ผู้เป็นพ่อให้มีความรักเอื้ออาทรต่อผู้เป็นลูก มิให้ทำร้ายลูกๆ ด้วยทางตรงหรือทางอ้อม ส่วนหนึ่งจากการทำร้ายและทำลายลูกโดยทางอ้อมนั้นคือ ไม่ได้สอนลูกให้ละหมาดได้ และไม่สอนลูกให้ได้ละหมาด อาจอ้างว่าสงสารลูกต้องตื่นดึก ๆ เพื่อละหมาดซุบฮิ  เดี๋ยวไปเรียนหนังสือหลับในห้องเรียน เป็นการกระทำที่ฝืนบัญญัติอิสลาม และให้อันตรายแก่ลูกในอาคีเราะห์ พ่อที่ดีต้องรักลูกทั้งโลกดุนยาและอาคีเราะห์ อย่าให้ความรักแก่ลูกเฉพาะดุนยาอย่างเดียว ท่านนบีมุฮำหมัด (ศ็อลฯ) ได้กำชับเรื่องดังกล่าวว่า

مُرُوْ أَوْلاَدَكُمْ بِالصَّلاَةِ وَهُمْ أَبْنَاءُ سَبْعِ سِنِيْنٍ . وَاضْرِبُوْهُمْ عَلَيْهَا وَهُمْ أَبْنَاءُ عَشْرِ سِنِيْنٍ ……   رواه الحاكم والترمذي

          ความว่า  “ท่านทั้งหลายจงใช้ลูก ๆ ของพวกท่านให้ละหมาดขณะพวกเขามีอายุได้ 7 ขวบ และจงลงโทษพวกเขา(เมื่อพวกเขาละทิ้งละหมาด) เมื่อพวกเขามีอายุได้ 10 ขวบ…”

         การลงโทษเพื่อให้ได้มาซึ่งความดีนั้นเรียกว่าความรัก คนโบราณบอกว่ารักวัวให้ผูกรักลูกให้ตีส่วนหนึ่งจากการแสดงออกซึ่งความรักต่อลูกคือต้องเสมอภาคต่อบรรดาลูก ๆ อย่าเหลื่อมล้ำ หรือไม่เท่าเทียมในความรักและการให้ ซึ่งจะนำพาไปสู่ความไม่ปรองดองระหว่างลูก ๆ

          ท่านนบีกล่าวว่า

سَاوُوْا بَيْنَ أَوْلاَدِكُمْ فِي الْعَطِيَّةِ فَلَوْكُنْتُ مُفَضِّلاً أَحَدًا لَفَضَّلْتُ النِّسَاءَ :  رواه البيهقي والطبراني

         ความว่า   “ท่านทั้งหลายจงให้มีความเท่าเทียมต่อบรรดาลูก ๆ ในปัจจัยที่ให้ (  عَطِيَّةٌ) ถ้าแม้ข้าพเจ้าเป็นผู้สามารถให้ความเหลื่อมล้ำต่อผู้หนึ่งผู้ใดได้ แน่นอนข้าพเจ้าก็จะให้แก่บรรดาหญิง

          ขอฝากในท้ายคุตบะห์แก่บรรดาคุณพ่อทั้งหลายด้วยคำพูดของท่านอุมัรบุตรคอตต๊อบ ที่ชี้แจงคำว่ารักและหวังดีจากพ่อในยุคของท่านให้รู้ถึงคุณค่าการเรียนรู้และการยิงธนู เพื่อจักได้เผชิญโลก และรักษาตัวเองจากไฟนรกด้วยการสร้างเลือดเนื้อด้วยของฮาล้าลว่า

مِنْ حَقِّ الْوَلَدِ عَلَى الْوَالِدِ أَنْ يُعَلِّمَهُ الْكِتَابَةَ وَالرِّمَايَةَ وَ أَلاَّ يَرْزُقَهُ إِلاَّحَلاَلاً طَيِّبًا

          ความว่า  “สิทธิของลูกที่พึงได้รับจากพ่อให้พ่อสอนลูกเรื่องการเขียนและยิงธนูและอย่าให้ลูกบริโภคริสกีนอกจากของที่ฮาล้าล”

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ اْلعَظِيْمَ ِليْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَ اْلغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ       

 

คุตบะห์ฉบับไฟล์ PDF

  • ดาวน์โหลดไฟล์คุตบะห์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top