วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 17:35 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> ความละอายเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา
ความละอายเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา

ความละอายเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา

ความละอายเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา

اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الْمُنْعِمِ الْكَرِيْمِ .  اَلْمَنَّانِ الَّذِيْ نَوَّرَ بِنُوْرِ طَاعَتِهِ قُلُوْبَ أَهْلِ اْلإِيْمَانِ .  وَكَتَبَ السَّعَادَةَ لِلأَهْلِ الْمَعْرُوْفِ وَاْلإِحْسَانِ . اَلْمُنْتَقِمِ مِمَّنْ تَسَبَّبَ فِيْ ضَرَرِالْمُسْلِمِيْنَ وَسَعَى فِي اْلأَرْضِ بِالْفَسَادِ .  وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ حَكَمَ فَعَدَلَ .  وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ الْجَلِيْلِ اْلأَجَلِ .  اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى مُحَمَّدٍ .  اَلَّذِيْ أَيَّدَهُ اللهُ وَرَفَعَ مِلَّتَهُ فَوْقَ سَائِرِالْمِلَلِ .  وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ وَالْعَامِلِيْنَ بِمُقْتَضَى أَحْكَامِ الدِّيْنِ .

أَمَّا بَعْدُ فَيَا عِبَادَ اللهِ . أُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ أَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ .  فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرْآنِ اْلكَرِيْمِ :  فَمَنْ يَعْمَلْ مِثْقَالَ ذَرَّةٍ خَيْرًا يَرَهُ وَمَنْ يَعْمَلْ مِثْقَالَ ذَرَّةٍ شَرًّا يَرَهُ  

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

          มุสลิม คือ ผู้ดูแลรักษาตัว โดยเขาจะต้องบรรจุส่วนต่างๆ ของการศรัทธาเพื่อเขาจะได้กลายสภาพเป็นมุมินที่สมบูรณ์ และส่วนหนึ่งของความศรัทธานั้นคือความละอายต่อตัวเอง ขณะที่เขาจะก้าวเข้าสู่การประพฤติหรือปฏิบัติไม่ว่าการกระทำนั้นจะเกี่ยวข้องระหว่างบ่าวกับอัลลอฮ์ หรือระหว่างมนุษย์ด้วยกัน และความละอายต้องเป็นนิสัยติดตัวของคนมุมินเลยทีเดียว แท้จริงความละอาย (اَلْحَيَاءُ)  เป็นส่วนหนึ่งจากการอีหม่าน และการอีหม่านเป็นหลักอะกีดะห์  (عَقِيْدَةٌ)  ของมุสลิมและเป็นองค์ประกอบที่ค้ำยันการดำเนินชีวิตของเขาให้ตรง

          ท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า      

َالإِيْمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُوْنَ أَوْبِضْعٌ وَسِتُّوْنَ شُعْبَةً فَأَفْضَلُهَا لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ  وَأَدْنَاهَا إِمَاطَةُ اْلأَذَىْ عَنِ الطَّرِيْقِ وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ اْلإِيْمَانِ  : رواه مسلم

          ความว่า   “การศรัทธา (الإِيْمَانُ) แบ่งออก 70 , 60 กว่าส่วน ที่ประเสริฐสุดคือ ลาอิลาฮะอิลลั้ลเลาะห์ (إِلَهَ إِلاَّ اللهُ لاَ) ถัดลงมาคือ การขจัดอันตรายที่กีดขวางทางจราจร และความละอายก็เป็นส่วนหนึ่งจากการอีหม่าน

          และท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวอีกว่า

اَلْحَيَاءُ وَاْلإِيْمَانُ قُرْنَاءِ جَمِيْعًا فَإِذَارُفِعَ أَحَدُهُمَا رُفِعَ اْلآخَرُ  : رواه الحاكم

          ความว่า   “ความละอายและอีหม่านทั้งสองเป็นเพื่อนร่วมกัน เมื่ออันหนึ่งถูกยกไป อีกส่วนหนึ่งก็สลายไปด้วย

          วิทยะปัญญา ((حِِكْمَةٌ ของคำว่าความละอายเป็นส่วนหนึ่งแห่งการศรัทธา คือแท้จริงทั้งสอง  (อีหม่าน, ละอาย) เรียกร้องไปสู่ความดีทั้งภายนอกและภายใน และทำให้หักเหออกจากความชั่วพร้อมปลีกตัวออกห่างไกล อีหม่านชักชวนคนมุมินสู่การ ((طَاعَةٌ ภัคดีต่างๆ และละทิ้งจาก (مَعْصِيَةٌ) ความชั่วทั้งหลาย

          ความละอายหักห้ามผู้นั้นจากการละเลยในการขอบคุณ  (شُكْرًا)  ต่อผู้สร้างและหย่อนยานต่อสิทธิ์ที่พึงปฏิบัติ  เฉกเช่นเดียวกับผู้ที่มีความละอายจะไม่กระทำที่น่ารังเกียจและคำพูดที่น่าตำหนิ ประณาม  ดังนั้นเมื่อความละอายคือความดีอย่างหนึ่งมันก็จะไม่นำมาเว้นแต่เป็นสิ่งดีเท่านั้นสิ่งที่ตรงข้ามความไม่มียางอาย นามว่า اَلْبَذَاءُ  คือ ความน่ารังเกียจทั้งคำพูดและการกระทำ และไม่รักษาคำพูดว่าจะเกิดผลลบหรือบวก มุสลิมจะไม่มีลักษณะเป็นผู้หยาบช้าในการพูดและการกระทำที่เรียกว่าเลวร้ายมีแต่ความกระด้างไร้ความอ่อนโยน เพราะคุณลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะของชาวนรกและอันที่จริงมุสลิมต้องเป็นส่วนหนึ่งของชาวสวรรค์إِنْ شَاءَ اللهُ  การกระทำที่ขาดความละอายนำมาเป็นบุคลิกลักษณะของเขาไม่ได้

          ท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

اَلْحَيَاءُ مِنَ اْلإِيْمَانِ  وَاْلإِيْمَانُ فِي الْجَنَّةِ  وَالْبَذَاءُ مِنَ الْجَفَاءِ  وَالْجَفَاءُ  فِي النَّارِ  :  رواه مسلم  واحمد

          ความว่า   “ความละอายเป็นส่วนหนึ่งจากการอีหม่าน ผู้ที่มีอีหม่านคือชาวสวรรค์ ผู้ที่น่ารังเกียจทั้งคำพูดและการกระทำเป็นส่วนหนึ่งของการไร้ค่า และผู้ไร้ค่าคือชาวนรก

          ผู้ที่เป็นแบบฉบับในเรื่องของความละอายคือท่านนบีมุฮำหมัด (ศ็อลฯ) นายแห่งบรรดาร่อซู้ล เพราะท่านนบีมุฮำหมัด (ศ็อลฯ) มีความละอายยิ่ง  มากไปกว่าหญิงสาวบริสุทธิ์ในห้องของเธอ

ดังมีรายงานจากท่านอบีสอีดว่า

فَإِذَا رَآى شَيْئًا يَكْرَهُهُ عَرَفْنَاهُ فِي وَجْهِهِ   : رواه البخاري

          ความว่า  “เมื่อท่านนบีมุฮำหมัด (ศ็อลฯ) แลเห็นสิ่งใดที่น่ารังเกียจพวกเราจะรู้ได้ด้วยอาการทางสีหน้าของท่าน

และในฮะดีษซอเฮี๊ยะห์กล่าวว่า

أَنْ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَرَّ بِرَجُلٍ يَعِظُ أَخَاهُ فِي الْحَيَاءِ  فَقَالَ  :  دَعْهُ فَإِنَّ الْحَيَاءَ مِنَ اْلإِيْمَانِ  :  رواه البخاري وابوداود والنسائي

          ความว่า   “แท้จริงท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เดินผ่านชายผู้หนึ่งซึ่งกำลังตักเตือนน้องชายของเขาในเรื่องของการมีความละอาย ท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า จงปล่อยให้เขาสอนเถอะ เพราะความละอายเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา

          ท่านนบีมุฮำหมัด (ศ็อลฯ) เรียกร้องให้มุสลิมคงไว้ซึ่งความละอาย ถึงแม้นว่าผู้นั้นจะลดหย่อนไปบ้าง ซึ่งสิทธิ์ที่พึงได้ เพราะการบกพร่องจากสิทธิ์ที่ควรได้ ดีกว่าเขาขาดไปซึ่งความละอาย เนื่องจากว่าความละอายเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา

          ขอพระองค์อัลลอฮ์ ได้โปรดทรงเมตตาหญิงคนหนึ่ง ลูกสุดที่รักของเธอได้พัดหลงจากเธอไป  เธอจึงหยุดอยู่ที่ชนกลุ่มหนึ่งเพื่อไต่ถามหาลูกของเธอ ได้มีชายผู้หนึ่งในกลุ่มชนนั้นกล่าวเสียงดังขึ้นว่า   นี่เธอตามหาลูกและถามหาลูกทั้งๆ ที่เธอคลุมหน้าคลุมตาอย่างนี้หรือ เมื่อหญิงผู้นี้ได้ยินเธอจึงตอบว่า

ِلأَنْ أُزْرَا فِيْ وَلَدِيْ خَيْرٌ مِنْ أَنْ أُزْرَا فِيْ حَيَائِيْ أَيُّهَا الرَّجُلُ   : رواه ابوداود

          ความว่า   “ความเดือดร้อนที่เสียหายในลูกของฉัน ยังดีกว่าความเสียหายที่เดือดร้อนอันเกิดจากการขาดความละอายของฉันโอ้ชายเอ๋ย

และความละอายไม่ใช่ข้อห้ามในการพูดความจริง หรือแสวงหาความรู้ หรือใช้ให้ทำความดีและห้ามจากความชั่ว ซึ่งมีเหตุการณ์ที่อุซามะห์บุตรของซัยด์ขอความช่วยเหลือให้แก่หญิงผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในตระกูลที่สูงได้ลักขโมยถึงขั้นต้องโดนลงโทษ ก็ไม่ถือว่าขาดความละอายในการแสดงอาการโกรธโดยที่ท่านนบีมุฮำหมัด (ศ็อลฯ) กล่าวแก่อุซามะห์สภาพดังกล่าวว่า

أَتَشْفَعُ فِيْ حَدٍّ مِنْ حُدُوْدِ اللهِ يَا أُسَامَةُ وَاللهِ لَوْسَرَقَتْ فَاطِمَةُ بِنْتُ مُحَمَّدٍ لَقَطَعْتُ يَدَهَا  :  رواه البخاري وابوداود والنسائي

          ความว่า  “โอ้อุซามะห์ท่านจะขอผ่อนผันในบทลงโทษหนึ่งจากบทลงโทษต่างๆ ของอัลลอฮ์กระนั้นหรือ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า มาดแม้นฟาตีมะห์ บุตรของมุฮำหมัดได้ลักขโมย ข้าพเจ้าจะตัดมือของเธอเอง”   

          และไม่นับว่าหญิงผู้หนึ่งนามว่า อุมุซุลัยมินอั้ลอันซอรียะห์  (أُمُّ سُلَيْمٍ َاْلأَنْصَارِيَّةُ )  ขณะที่เธอถามว่าโอ้ท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงอายในเรื่องสัจธรรม หญิงผู้หนึ่งจำเป็นต้องอาบน้ำยกฮะดัสใหญ่หรือไม่เมื่อเธอฝัน (มีเพศสัมพันธ์) ท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตอบว่าنَعَمْ  إِذَارَأَتِ اْلماَءَ :  رواه البخاري ต้องอาบน้ำ ถ้าแม้นเธอแลเห็นน้ำ

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก 

          ความเป็นมุสลิมจะต้องมีความละอายต่อมนุษย์ด้วยกัน เขาต้องไม่เปิดเผยอวัยวะที่จำเป็นต้องปกปิด (عَوْرَةٌ) และต้องไม่ละเลยจากหน้าที่ของเขาที่ต้องมีต่อผู้อื่นพร้อมไม่ปฏิเสธกับการรับการตักเตือน อย่าโต้ตอบด้วยสำนวนที่แสดงถึงความอ่อนแอของอีหม่าน  และเช่นเดียวกันนั้นมุสลิมต้องมีความละอายต่อผู้สร้าง อย่าเลินเล่อและหย่อนยานในการภักดี (طَاعَةٌ) ต่ออัลลอฮ์ พร้อมที่จะไม่ลืมขอบคุณ (شُكْرًا) ต่ออัลลอฮ์จากความผาสุก (نِعْمَةٌ) ที่พระองค์ทรงประทานให้โดยการกระทำความดีเพิ่มมากยิ่งกว่าเก่าอัลลอฮ์ตรัสว่า 

سورة إبراهيم :  الآية  7  :  لَئِنْ شَكَرْتُمْ لأَزِيدَنَّكُمْ

          ความว่า  “มาดแม้นท่านทั้งหลายได้ขอบคุณ ( شُكْرًا ) เรา (อัลลอฮ์) จะทวีคูณแก่พวกเจ้า

          ขอฝากคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด เพื่อเป็นอนุสติแก่ตัวข้าพเจ้าและพี่น้องที่รัก

إِسْتَحْيُوْا مِنَ اللهِ حَقَّ الْحَيَاءِ فَاحْفَظُوْا الرَّاْسَ وَمَاوَعَى وَالْبَطْنَ وَمَاحَوَى  وَاذْكُرُوا الْمَوْتَ وَالْبِلَى   :  اخرجه المنذري مرفوعا  ورجح وقفه على ابن مسعود

          ความว่า ท่านทั้งหลายจงละอายต่ออัลลอฮ์ซึ่งแก่นแท้ของความละอาย และจงรักษาส่วนสมองพร้อมกับสิ่งที่บรรจุไว้ และจงรักษาส่วนท้องพร้อมกับสิ่งที่สะสมไว้ และจงรำลึกถึงความตายพร้อมกับความเน่าสลาย”

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ

 

คุตบะห์ฉบับไฟล์ PDF

  • ดาวน์โหลดไฟล์คุตบะห์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top