วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 14:06 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> คุตบะห์อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ.1432
คุตบะห์อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ.1432

คุตบะห์อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ.1432

คุตบะห์อีดิ้ลฟิตรี
خطبة عيد الفطرر

คุตบะห์ที่ 1

اللهُ أَكْبَرُ9 ครั้ง   

اللهُ أَكْبَرُكَبِيْرًا  ،  وَالْحَمْدُ لِلَّهِ كَثِيْرًا  ،  وَسُبْحَانَ اللهِ بُكْرَةً وَأَصِيْلاً  ،  سُبْحَانَ اللهِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ وَلاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ ، وَاللهُ أَكْبَرُ  ،  وَلِلَّهِ الْحَمْدُ .

اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الْمُتَجَلِّيْ بِرَحْمَتِهِ عَلَى عِبَادِهِ  ،  اَلْقَرِيْبِ مِنْ أَهْلِ مَحَبتِهِ وَوِدَادِهِ ،

 اَلْقَامِعِ مَنْ هَامَ فِيْ مَيْدَانِ عُتُوِّهِ وَعِنَادِهِ  ،  اَلْمُعِيْدِ السُّرُوْرِ عَلَى أَهْلِ اْللإِيْمَانِ وَاْلإِسْلاَمِ  ،  وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ يَغْفِرُ الذُّنُوْبَ وَيُعْطِى كُلَّ سَائِلٍ مَاسَأَلَ  ،  وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَنَا مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ رَغِبَ فِي الطَّاعَةِ وَحَذَّرَ مِنَ الْكَسَلِ ،

اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلَّمْ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ طَيِّبِ الْقُلُوْبِ وَالْعِلَلِ  ،  وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ الْمُخْلِصِيْنَ لِلَّهِ فِي الصِّيَامِ وَالْقِيَامِ  .

 أَمَّا بَعْدُ  : فَياَ عِبَادَ اللهِ أُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ أَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ وَطَاعَتِهِ  ،   وَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالىَ فِيْ كِتَابِهِ  : كُلُّ مَنْ عَلَيْهَا فَانٍ وَيَبْقَى وَجْهُ رَبِّكَ ذُوا الْجَلاَلِ وَاْلإِكْرَامِ

اللهُ أَكْبَرُ  ،  اللهُ أَكْبَرُ  ،  اللهُ أَكْبَرُ  ،  وَ لِلَّهِ اْلحَمْدُ 

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก 

           วันอีดิ้ลฟิตรี่ เป็นวันที่อัลลอฮฺทรงประทานรางวัลแก่บรรดาบ่าวของพระองค์ที่ได้ขะมักเขม้นในการประกอบอิบาดะห์ต่อพระองค์ ซึ่งเป็นรางวัลอันยิ่งใหญ่

ดังมีรายงานจากท่านอิบนุเอาซิน อันซอรีย์ สะอั๊ด จากท่าน นบีมูฮำหมัด (ศ้อลฯ) ได้กล่าวว่า

إِذَا كَانَ يَوْمُ عِيْدِ اْلفِطْرِ وَقَفَتِ الْمَلاَئِكَةُ عَلَى أَبْوَابِ الطُّرُقِ فَنَادَوْا اُغْدُوْا يَا مَعْشَرَ اْلمُسْلِمِيْنَ إِلَى رَبٍّّ كَرِيْمٍ  ،  يَمُنُ بِالْجَيْرِ ثُمَّ  يُثِيْبُ عَلَيْهِ الْجَزِيْلَ ، لَقَدْ أُمِرْ تُمْ بِقِيَامِ الْلَّيْلِ فَقُمْتُمْ  ، وَ أُمِرْ تُمْ بِصِيَامِ النَّهَارِفَصُمْتُمْ  ،  وَأَطَعْتُمْ رَبَّكُمْ فَاقْبِضُوْاجَوَائِزَكُمْ،  فَإِذَا صَلُّوْا نَادَىْ مُنَادٍ أَلاَ رَبُّكُمْ قَدْ غَفَرَلَكُمْ  ،  فَارْجِعُوْا رَاشِدِيْنَ إِلَى رِحَالِكُمْ  ….  رواه الطبراني

ความว่า  “เมื่อได้ปรากฏวันอีดิ้ลฟิตริ์ เหล่ามาลาอีกะห์ได้ยืนตามช่องทางต่างๆ เขาทั้งหลายได้ร้องกล่าวว่า โอ้ชนมุสลิมจงมุ่งหน้าสู่พระเจ้าผู้ทรงใจบุญ  พระองค์จะทรงโปรดปรานด้วยการทำความดี พร้อมพระองค์จะทรงตอบแทนกับผลบุญอันมากมาย แท้ที่จริงท่านทั้งหลายถูกใช้ให้ทำการละหมาดกียามุลลัยน์ ท่านทั้งหลายก็ได้ปฏิบัติกับละหมาดนั้น พวกท่านถูกใช้ให้ถือศีลอดในช่วงของกลางวัน ท่านทั้งหลายก็ได้ถือศีลอด และพวกท่านก็ได้ภักดีต่อพระเจ้าของพวกท่าน ดังนั้น ท่านทั้งหลาย จงมารับรางวัลของพวกท่าน และเมื่อท่านทั้งหลายละหมาดอีดได้มีเสียงร้องเรียกว่า โปรดทราบเถิดความจริงพระเจ้าได้ทรงอภัยโทษให้แก่พวกท่านแล้ว ท่านทั้งหลายจงกลับไปยังพาหนะของพวกท่านในสภาพเป็นผู้นำสู่หนทางที่ถูกต้อง”

اللهُ أَكْبَرُ  .  اللهُ أَكْبَرُ  .  اللهُ أَكْبَرُ  .  وِلِلَّهِ اْلحَمْدُ  .

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก                      

วันอีดิ้ลฟิตริ์ เป็นวันรื่นเริงและเป็นวันประกอบคุณงามความดีเป็นวันที่มุสลิมแสดงออกถึงความเอื้ออาทร การอภัย และมีจิตไมตรีต่อพี่น้องมุสลิมและความรักเป็นโอกาสอันดีต่อผู้ที่เป็นบุตรซึ่งจะต้องแสดงถึงความรักกตัญญูต่อบิดามารดาซึ่งที่ท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ และท่านทั้งสองเป็นเหตุให้บุตรได้เข้าสวรรค์ของอัลลอฮฺ และทำมาค้าขึ้นมีหน้าที่การงานที่ก้าวหน้า

          ท่านพี่น้องทราบไหมว่า ขณะที่เรานั้นได้คลอดออกมาจากครรภ์มารดา ความรู้สึกปีติยินดีของคุณพ่อคุณแม่ ถึงขั้นน้ำตาไหลออกจากสองเบ้าตาโดยไม่รู้ตัว จับสองเท้าของผู้เป็นลูกมาจุ่มพิตด้วยความรักที่พร้อมจะยอมตายเพื่อลูกได้ มีไหมที่ลูกจะได้จุมพิตคุณพ่อคุณแม่เพื่อการแสดงออกถึงความรัก คุณพ่อคุณแม่มีความหวังลึกๆ ว่า เพียงลูกมองพ่อแม่ด้วยสายตาแห่งความรักคำพูดที่ฉอเลาะ หรือเพียงแต่การจูบแก้มขวา และซ้ายก็เพียงพอแล้วไม่ต้องถึงขั้นก้มลงจูบเท้าหรอก 

          ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก ลูกที่ดีต้องปรนนิบัติดีต่อบิดามารดา และเชื่อฟังท่านทั้งสอง มิใช่เพียงแต่ว่าตอบแทนบุญคุณของท่านทั้งสอง แต่มันคือคำสั่งใช้จากพระเจ้า อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้ทรงกล่าวถึงการภักดีต่อบิดามารดา รองจากการภักดีต่อพระองค์ ดังอัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

وَقَضَى رَبُّكَ أَلاَّ تَعْبُدُواْ إِلاَّ إِيَّاهُ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا إِمَّا يَبْلُغَنَّ عِندَكَ الْكِبَرَ أَحَدُهُمَا أَوْ كِلاهُمَا فَلاَ تَقُل لَّهُمَا أُفٍّ وَلاَ تَنْهَرْهُمَا وَقُل لَّهُمَا قَوْلاً كَرِيمًا ، وَاخْفِضْ لَهُمَا جَنَاحَ الذُّلِّ مِنَ الرَّحْمَةِ وَقُل رَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيرًا  : سورة الاسراء  الآية 24-23

ความว่า  “และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่าห้ามพวกเจ้าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น และจงทำดีต่อสองบิดามารดา เมื่อผู้ใดในทั้งสอง หรือทั้งสองบรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า “อุฟ” ซึ่งแสดงออกถึงความไม่พอใจ และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงพูดแก่ท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสองซึ่งเป็นการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตาและจงกล่าวขอดุอาว่า ข้าแต่พระเจ้าของฉันโปรดทรงเมตตาแก่ท่านทั้งสอง เช่น การที่ท่านทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันตั้งแต่เยาว์วัย”

          โดยเฉพาะผู้เป็นมารดา ท่านนบีให้ความสำคัญมากต่อการภักดีจากผู้เป็นลูก โดยท่านนบีได้กล่าวแก่ชายผู้หนึ่งที่มาถามท่านว่า

مَنْ أَحَقُّ بِحُسْنِ صُحْبَتِيْ

ความว่า “ใครคือผู้ที่ดีที่สุดในการที่ฉันควรจะภักดี”

قَالَ [أُمُّكَ]  قَالَ ثُمَّ مَنْ ؟ قَالَ [أُمُّكَ]  قَالَ ثُمَّ مَنْ  قَالَ [أُمُّكَ] قَالَ ثُمَّ مَنْ  قَالَ أَبُوْكَ  :  رواه البخاري / ومسلم

ความว่า  “ท่านนบีตอบว่า.. มารดาของท่าน ชายผู้นี้ก็ถามอีกว่า ใครคือผู้ที่ดีที่สุดในการที่ฉันควรจะภักดี ท่านนบีก็ตอบว่า…มารดาของท่าน ชายผู้นี้ก็ถามอีกว่า ใครคือผู้ที่ดีที่สุดในการที่ฉันควรจะภักดี ท่านนบีก็ตอบว่า…มารดาของท่าน ชายผู้นี้ก็ถามอีก นบีก็ตอบว่า…บิดาของท่าน

การภักดีเชื่อฟังคุณแม่ ก็มิอาจทดแทนบุญคุณของท่านได้ ดังท่านบัซซาร ได้รายงานว่า “มีชายผู้หนึ่งทำการตอวาฟบัยติลละห์ โดยเขาได้อุ้มแม่ของเขาตอวาฟด้วย เขาได้ถามท่านนบี (ศ็อลฯ) ว่า ฉันได้แทนคุณ ของแม่ของฉันแล้วหรือยัง ท่านนบีตอบว่า…ยัง และมันยังไม่เท่ากับลมเบ่งหนึ่งครั้งของแม่เลย”

ท่านพี่น้อง ขณะที่คุณพ่อคุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ กรุณาอย่าให้เขาทั้งสองต้องเสียน้ำตาเพราะการเนรคุณของลูกโดยเฉพาะคุณแม่ ซึ่งผู้ใดทำให้คุณแม่น้ำตาไหลเพราะการอกตัญญู เขาผู้นั้นอย่าคิดว่าจะได้เข้าสวรรค์เลย แม้แต่กลิ่นไอของสวรรค์ก็มิได้ยลกลิ่น อย่าลืมว่าสวรรค์นั้นอยู่ใต้ฝ่าเท้ามารดา

มหาสมุทรสุดล่าอีกฟ้ากว้าง  มิอาจอ้างเทียบค่ามารดาฉัน

พระคุณแม่สูงล้นพ้นรำพัน  แม้นสวรรค์ยังลอยลาดใต้บาทเธอ

คนที่โชคดี คือ คนที่ได้ทำดีต่อพ่อแม่ ขณะที่ท่านทั้งสองยังมีลมหายใจ และในขณะเดียวกัน เขาก็ปรารถนาที่จะทำดีต่อคุณพ่อคุณแม่หลังจากโลกดุนยานี้ไปแล้ว ซึ่งมีบันทึกรายงานจากอบูดาวูดว่า ท่านนบีได้แนะนำแก่ชายคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวอันซอร ที่กล่าวถามท่านนบี (ศ็อลฯ) ว่า

يَا رَسُوْلَ اللهِ هَلْ بَقِيَ عَليَّ شَيْءٌ مِنْ بِرِّ أََبَوَيَّ بَعْدَ مَوْتِهِمَا أَبِرُّهُمَابِهِ

ความว่า  “โอ้ท่านร่อซู้ลแห่งอัลลอฮฺ ยังมีสิ่งใดที่เหลือ เหนือข้าพเจ้าอีกไหมจากการทำดีต่อคุณพ่อคุณแม่ หลังจากท่านทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว”

قاَلَ  : نَعَمْ خِصَالُ أَرْبَعٍ

          ท่านนบีก็ตอบว่า…ยังมีซิ คือ 4 ประการต่อไปนี้      

اَلصَّلاَةُ عَلَيْهِمَا وَاْلإِسْتِغْفَارُ لَهُمَا

1)      การละหมาดแก่ท่านทั้งสอง และการขออภัยโทษให้แก่ท่านทั้งสอง

وَإِنْفَاذُ عَهْدِ هِمَا

2)      ทำให้หลุดพ้นในพันธะสัญญาของท่านทั้งสอง

وَإِكْرَامُ صَدِيْقِهِمَا

3)      การให้เกียรติเพื่อนรักของท่านทั้งสอง

وَصِلَةُ الرَّحِمِ الَّتِيْ لاَرَحِمَ لَكَ إِلاَّ مِنْ قِبَلِهِمَا

4)      เชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ ซึ่งที่พ่อแม่ของท่าน เคยสัมพันธ์กับเขาเหล่านั้นมาก่อน

فَهُوَ الَّذِىْ بَقِيَ عَلَيْكَ مِنْ بِرِّهِمَا بَعْدَ مَوْتِهِمَا

5)      มันคือสิ่งที่เหลือให้กับท่าน จากการทำดีต่อคุณพ่อคุณแม่ หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว

วันอีดพี่น้องมุสลิมให้อภัยกัน พ่อแม่อย่าลืมอภัยให้ลูก วันอีดพี่น้องมุสลิมเขากอด กูจุบกัน ลูกก็อย่าลืมกูจุบบิดา มารดา และขออภัยต่อท่านทั้งสอง ก่อนที่ลูกทั้งหลายจะไม่มีโอกาสขออภัยท่านทั้งสอง

اللهُ أَكْبَرُ .  اللهُ أَكْبَرُ .  اللهُ أَكْبَرُ .  وَ لِلَّهِ اْلحَمْد ُ.

 ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

           การถือศีลอดเป็นการتَقَرُّبٌ  ทำความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ และเป็นอิบาดะห์ที่อัลลอฮฺ จะทรงให้เกิดเนื่องจากการถือศีลอดของบ่าวคือ ความยำเกรงต่อพระเจ้า   ( تَقْوَى ) พร้อมด้วยสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ และเสริมสร้างจิตวิญญาณของมนุษย์ให้มีความอดทนอดกลั้นพร้อมด้วยความเข้มแข็งและมีความเป็นระเบียบพร้อมนำมาซึ่งความเมตตาต่อผู้ยากไร้และอีกมากมายจากحِكْمَةٌ  ของการถือศีลอด กระนั้นยังได้รับความคุ้มครองจากอัลลอฮฺซึ่งมีบันทึกจากอะห์หมัดและน่าซาอีย์ โดยท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

اَلصِّيَامُ جُنَّةٌ مِنَ النَّارِكَجُنَّةِ أَحَدِكُمْ مِنَ اْلقِتَالِ

ความว่า  “การถือศีลอดเป็นโล่ป้องกันไฟนรก เปรียบเสมือนโล่ของคนหนึ่งจากพวกท่านในยามสงคราม” 

และท่านติรมีซีย์ นะซาอีย์ อิบนุมายะห์ และอะห์หมัด ได้บันทึกว่า ท่านนบีกล่าวว่า

مَنْ صَامَ يَوْمًا فِيْ سَبِيْلِ اللهِ عَزَّ وَجَلَّ  ،  زَحْزَحَ اللهُ وَجْهَهُ عَنِ النَّارِ بِذَلِكَ الْيَوْمِ سَبْعِيْنَ خَرِيْفًا …

ความว่า  “ผู้ใดที่ทำการถือศีลอดในหนทางของอัลลอฮฺ (ลิลลาฮิตะอาลา) อัลลอฮฺได้ทรงโยกย้ายใบหน้า (ร่างกาย) ของเขาออกจากนรกในวันดังกล่าวถึง 70 ฤดูกาล”

ท่านศาสดามูฮำหมัด จึงได้ขะมักเขม้นในการถือศีลอดไม่ว่าจะเป็นฟัรดูหรือสุนัตส่วนหนึ่งจากการถือศีลอดที่ท่านนบี (ศ็อลฯ) ได้กำชับไว้คือ การถือศีลอด 6 วันของเดือนเชาว้าล

มีรายงานจากอะบีอัยยูบอัลอันซอรีย์ ว่าแท้จริงท่านนบี (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ اتَّبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ فَكَأَنَّمَا صَامَ الدَّهْرَ ….  : اخرجه الجماعة إلا البخاري و النسائي

ความว่า  “ผู้ใดถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ต่อมาเขาก็ติดตามด้วยการถือศีลอดอีก 6 วัน ของเดือนเชาว้าลประดุจดังเขาได้ถือศีลอดตลอดปี”

บรรดาอุลามาอ์ได้กล่าวว่า  قَالَ الْعُلَمَاءُ

การทำ 1 ความดี เท่ากับ 10 ความดี   الْحَسَنَةُ بِعَشْرِأَمْثَالِهَا

ถือศีลอดรอมฎอนเท่ากับ 10 เดือน    وَرَمَضَانُ بِعَشْرَةِ شُهُوْرٍ

และการถือศีลอดอีก 6 วันในเดือนเชาว้าล เท่ากับ การถือศีลอด 2 เดือน

 وَاْلأَيَّامُ السِتَّةُ بِشَهْرَيْنِ  وَعِنْدَ أَحْمَدُ :  إِنَّهَا تُؤَدِّيْ مُتَتَابِعَةً وَغَيْرَ مُتَتَابِعَةٍ وَلاَ فَضْلَ لاَحَدِهِمَا عَلَى اْلآخَرِ

ตามทัศนะของอะห์หมัด ให้ทำการถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาว้าล จะโดยต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม และไม่ถือว่าอันหนึ่งจะมีความประเสริฐ أَفْضَلُ กว่าอีกอันหนึ่ง     

وَعِنْدَ الْحَنَفِيَّةِ. وَالشَّافِعِيَّةِ . الأَفْضَلُ صَوْمُهَا مُتَتَابِعَةٌ عَقِبَ الْعِيْدِ

และตามทัศนะของฮ่านาฟียะห์และชาฟีอียะห์ ถือว่าประเสริฐ (أَفْضَلُ) ในการถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาว้าลโดยต่อเนื่องถัดจากวันอีด

          ท่านพี่น้องที่รัก มันเป็นความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ ที่มีต่อบ่าวของพระองค์ ที่ได้ทรงประทานแนวทางแห่งการประกอบคุณงามความดีเพื่อบ่าวจะได้รับความสุขทั้งโลกดุนยาและอาคีเราะห์

اللهُ أَكْبَرُ .  اللهُ أَكْبَرُ .  اللهُ أَكْبَرُ   .  وَ لِلَّهِ اْلحَمْد ُ.

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

          อัลลอฮฺทรงให้บ่าวของพระองค์ พึงรักษาเกียรติยศ ของพี่น้องมุสลิมของเขา โดยวางระเบียบให้แก่ตัวเองต่อพี่น้องมุสลิมดังต่อไปนี้

1.  แสดงความรักต่อพี่น้องมุสลิมให้เกียรติกันด้วยการให้สลาม และตอบรับสลาม

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

وَإِذَا حُيِّيْتُمْ بِتَحِيَّةٍ فَحَيُّواْ بِأَحْسَنَ مِنْهَا أَوْ رُدُّوْهَا…

ความว่า “และเมื่อพวกท่านได้รับการคารวะใดๆ พวกเจ้าก็จง (ตอบ) คารวะให้ดีกว่านั้น หรือมิฉะนั้น ก็จงตอบคารวะนั้น (ด้วยถ้อยคำที่เท่าเทียมกัน)”

         2.  เยี่ยมเยียนผู้ป่วยและขอดุอาอ์ให้เขาได้หายจากอาการป่วย

จากท่านบะรออ์บุตรอาซิบ กล่าวว่า

أَمَرَنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهَ وَسَلَّمَ . بِعِيَادَةِ الْمَرِيْضِ …. : رواه البخاري

ความว่า  “ท่านบี (ศ็อลฯ) ได้ใช้พวกเราให้ทำการเยี่ยมผู้ป่วย”

3.  ไปร่วมพิธีศพของมุสลิม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากสิทธิของมุสลิมพึงมีต่อมุสลิม

5 ประการ หนึ่งในนั้น คือ

وَاتِّبَاعُ الْجَنَائِزُ

ความว่า  “และการร่วมเดินตามศพ”

4.  ทำการตักเตือนด้วยใจบริสุทธิ์โดยการแนะนำให้ทำความดีและหลีกเลี่ยงจากความชั่วร้าย

ดังท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

اَلدِّيْنُ النَّصِيْحَةُ   رواه مسلم

ความว่า  “ศาสนาคือการตักเตือน”

5.  ให้มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ประดุจดังเขามีความปรารถนาดีแก่ตัวเขา

              ดังที่นบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

لاَ يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لأَخِيْهِ مَايُحِبُّ لِنَفْسِهِ وَيَكْرَهُ لَهُ مَايَكْرَهُ لِنَفْسِهِ  : رواه البخاري  ومسلم  والترمذي

 

ความว่า  “ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าจะไม่ถือว่ามีอีหม่านสมบูรณ์ จนกว่าเขาจะมีความปรารถนาดีต่อผู้ที่เป็นพี่น้องมุสลิมของเขา เสมือนเขาปรารถนาดีแก่ตัวของเขาเอง และเขาก็รังเกียจที่จะไม่ให้เกิดแก่ผู้อื่นในสิ่งที่เขารังเกียจที่จะให้เกิดแก่ตัวเขาเอง

6.  ไม่ใส่ร้ายป้ายสีต่อพี่น้องมุสลิม และไม่ทำให้เกิดความหวาดกลัวแก่เขา

ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

كُلُّ الْمُسْلِمِ عَلَى الْمُسْلِمِ حَرَامٌ دَمُهُ وَمَالُهُ وَعِرْضُهُ  : رواه مسلم

ความว่า  “ทุกคนที่เป็นมุสลิมห้ามละเมิด สิทธิมุสลิมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อ  ทรัพย์สิน และเกียรติยศศักดิ์ศรีของเขา”

لاَ يَحِلُّ لِمُسْلِمٍ أَنْ يُرَوِّعَ مُسْلِمًا :  رواه احمد وابوداود

ความว่า  “ไม่เป็นที่อนุญาตแก่มุสลิมที่จะทำให้เกิดความหวาดกลัวแก่มุสลิมด้วยกัน”

7.  ต้องอ่อนน้อมต่อกัน ไม่แสดงความยโสหรือยกตนข่มท่าน

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

إِنَّ اللَّهَ لاَ يُحِبُّ كُلَّ مُخْتَالٍ فَخُورٍ   : سورة لقمان  الآية  18

ความว่า  “แท้จริงอัลลอฮฺทรงรังเกียจ ผู้ที่หยิ่งจองหอง คุยโว”

8.  ห้ามทะเลาะหรือหมางเมินเกินกว่า 3 วัน

ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

لاَ يَحِلُّ لِمُسْلِمٍ أَنْ يَهْجُرَ أَخَاهُ فَوْقَ ثَلاَثٍ  يَلْتَقِيَانِ فَيُعْرِضُ هَذَا وَيُعْرِضُ هَذَا وَخَيْرُهُمَا الَّذِيْ يَبْدَا بِالسَّلاَمِ   : رواه البخاري ومسلم وابوداود

ความว่า  “ไม่อนุญาตแก่มุสลิมที่เขาจะทะเลาะหมางเมินกับพี่น้องของเขาเกินกว่า 3 วัน เขาทั้งสองจะหมางเมินกันขณะพบกัน และผู้ที่ดีที่สุดจากทั้งสองคือผู้ที่เริ่มให้สลาม” 

9.  ห้ามนินทา หรือดูถูกดูแคลน เปิดเผยตำหนิข้อบกพร่อง ใส่ร้ายป้ายสี และเรียกขานโดยตั้งชื่อหรือฉายาที่น่ารังเกียจ

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

يَا اَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوا اِجْتَنِبُوْاكَثِيْرًا مِنَ الظَّنِّ إِنَّ بَعْضَ الظَّنِّ إِثْمٌ وَلاَ تَجَسَّسُوْا وَلاَ يَغْتَبْ بَعْضُكُمْ بَعْضًا أَيُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَنْ يَأْكُلَ لَحْمَ أَخِيْهِ مَيْتًا فَكَرِهْتُمُوْهُ : سورة الحجرات  الآية 12

ความว่า   “โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัยการนึกร้าย แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป และพวกเจ้าอย่าสอดแนม และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งในหมู่พวกเจ้านั้นชอบที่จะกินเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ พวกเจ้าย่อมเกลียดมัน”

และอัลลอฮฺทรงตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَيَسْخَرْ قَوْمٌ مِّنْ قَوْمٍ عَسَى أَن يَكُونُوا خَيْرًا مِّنْهُمْ وَلاَ نِسَاءٌ مِّن نِّسَاءٍ عَسَى أَن يَكُنَّ خَيْرًا مِّنْهُنَّ وَلاَ تَلْمِزُوا أَنفُسَكُمْ وَلاَ تَنَابَزُواْ بِالأَلْقَابِ بِئْسَ الإِسْمُ الْفُسُوقُ بَعْدَ الإِيمَانِ وَمَن لَّمْ يَتُبْ فَأُوْلَئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ . : سورة الحجرات  الآية 11 

ความว่า  “โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย ชนกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยชนอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีชนกลุ่มที่ถูกเยาะเย้ยจะดีกว่าชนกลุ่มที่เยาะเย้ย และสตรีกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยสตรีอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีกลุ่มสตรีที่ถูกเยาะเย้ยจะดีกว่ากลุ่มที่เยาะเย้ย และพวกเจ้าอย่าตำหนิตัวของพวกเจ้าเอง คือถ้าคนหนึ่งคนใดตำหนิก็เสมือนกับว่าเขาตำหนิตัวของเขาเอง เพราะบรรดามุสลิมคือเรือนร่างเดียวกัน และอย่าได้เรียกกันด้วยฉายาที่ได้ชอบ ช่างเลวทรามจริงๆ ที่บรรดาผู้ศรัทธาเรียกว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนภายหลังจากที่ได้มีการศรัทธากันแล้ว และผู้ใดไม่สำนึกผิดชนเหล่านั้น คือ บรรดาผู้อธรรม”

10. ห้ามด่า หรือบริภาษ พี่น้องมุสลิมโดยไม่ชอบธรรมไม่ว่ามุสลิมนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือจากดุนยาไปแล้ว

ดังท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

سِبَابُ الْمُسْلِمِ فُسُوْقٌ وَقِتَالُهُ كُفْرٌ . : متفق عليه

ความว่า  “การบริภาษ (ด่าว่า) มุสลิม คือ ความชั่ว และการเข่นฆ่ามุสลิมคือกุฟรุน (การฝ่าฝืน)”

และท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

لاَتَسُبُّوا الأَمْوَاتَ فَإِنَّهُمْ قَدْ أَفْضَوْا إِلَى مَا قَدَّمُوْا : رواه البخاري والنسائى والحاكم

ความว่า  “ท่านทั้งหลายอย่าได้บริภาษ(ด่าว่า) บรรดาคนตาย เพราะแท้จริงพวกเขาได้รับในสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ก่อนแล้ว”

11. ห้ามอิจฉาริษยา คิดอคติต่อผู้อื่น สร้างความแค้น  และสอดแนม เพื่อทำลาย

อัลลอฮ์ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوا اِجْتَنِبُوْاكَثِيْرًا مِنَ الظَّنِّ إِنَّ بَعْضَ الظَّنِّ إِثْمٌ وَلاَ تَجَسَّسُوْا وَلاَ يَغْتَبْ بَعْضُكُمْ بَعْضًا : سورة الحجرات  الآية 12

ความว่า  “โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัยการนึกร้าย แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป และพวกเจ้าอย่าสอดแนม และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน”

ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

لاَ تَحَاسَدُوْا وَلاَ تَنَاجَشُوْا وَلاَ تَبَاغَضُوْا وَلاَ تَدَابَرُوْا وَلاَ يَبِعْ بَعْضُكُمْ عَلَى بَيْعِ بَعْضٍ وَكُوْنُوْا عِبَادَ اللهِ إِخْوَانًا : رواه مسلم

ความว่า “ห้ามท่านทั้งหลายอิจฉาริษยาต่อกัน ห้ามเพิ่มราคาสินค้าเพื่อหลอกลวงผู้อื่น ห้ามเกลียดชังกัน ห้ามลอบกัด ห้ามบางกลุ่มขายตัดหน้าอีกบางกลุ่ม และจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ เสมือนพี่น้องกัน”

12.  เคารพให้เกียรติผู้อาวุโส เมตตาต่อเยาวชน

ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَمْ يُوَقِّرْكَبِيْرَنَا وَيَرْحَمْ صَغِيْرَنَا  … : رواه الامام احمد

ความว่า  “ไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากพวกเรา ผู้ที่ไม่ให้เกียรติผู้อาวุโสและผู้ที่ไม่เมตตาเด็กๆ ของพวกเรา”  

13.       ให้อภัยจากความพลาดพลั้งของผู้อื่น และปกปิดสิ่งที่เขาไม่ปรารถนาให้เปิดเผย และอย่าสอดรู้สอดเห็น

อัลลอฮฺตรัสว่า

فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاصْفَحْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ  : سورة المائدة  الآية 13

ความว่า “ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และเมินหน้าเสียคือทำเป็นเสมือนไม่รู้ไม่เห็น แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงชอบผู้ทำดีทั้งหลาย”

และซึ่งมีการสั่งห้ามจากท่านนบี(ศ็อลฯ) ให้ปกปิดเอาว์เราะห์ความอายของผู้อื่น ในบันทึกของมุสลิม  มีใจความว่า 

“บ่าวคนใดที่ปกปิดความอายของผู้อื่นในดุนยา อัลลอฮฺทรงปกปิดความอายแก่เขาในวันกิยามะห์”

และมีใจความในบันทึกโดยอะบูดาวูด ว่า

“โอ้ผู้ที่ศรัทธาเพียงลิ้นและอีหม่านไม่เข้าในหัวใจ เจ้าทั้งหลายอย่านินทา อย่าชำแหละเอาว์เราะห์ของผู้อื่น แท้จริงผู้ใดชำแหละเอาว์เราะห์ พี่น้องของเขาที่เป็นมุสลิม อัลลอฮฺจะทรงชำแหละเอาว์เราะห์ของเขา และผู้ใดที่อัลลอฮฺ ชำแหละเอาว์เราะห์ของเขา อัลลอฮฺก็จะทรงประจานเขา ถึงแม้นว่าเขาจะซ้อนเร้นในบ้านของเขาก็ตาม”

และมีบันทึกของบุคอรี ว่า “ผู้ใดชอบแอบฟังคำสนทนาของผู้อื่น โดยผู้นั้นไม่ชอบ ในวันกียามะห์จะถูกกรอกในรูหูของเขาด้วยเหล็กหลอมจากไฟนรก”

14.  แสดงความสำรวมต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกันโดยมีมารยาทที่ดีต่อกัน

ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

إِتَّقِ اللهَ حَيْثُمَاكُنْتَ وَأَتَّبِعِ السَّيِّئَةَ الْحَسَنَةَ تَمْحُهَا وَخَالِقِ النَّاسَ بِخُلُقٍ حَسَنٍ …   : رواه الترمذي  والحاكم

ความว่า  “ท่านจงยำเกรงอัลลอฮฺไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม และจงลบล้างความชั่วด้วยการทำความดี และจงมีมารยาทที่ดีต่อมนุษย์ด้วยกัน”

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ . فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ

 

คุตบะห์ที่ 2

اللهُ أَكْبَرُ    7  ครั้ง  وَ لِلَّهِ الْحَمْدُ

اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَََّذِيْ جَمَّلَ الْعِيْدَ بِالسُّرُوْرِ  ،  وَأَلْزَمَ اْلعِبَادَ شُكْرَهُ  ، وَكَمَّلَهُ بِضِيَافَةِ الْمُؤْمِنِيْنَ  وَحَرَّمَ صَوْمَهُ وَأَوْجَبَ فِطْرَهُ ،  وَوَسَّعَ فِيْهِ مَوَائِدَ الرِّضْوَانِ  عَلىَ مَنْ شَرَحَ بِاْلإِسْلاَمِ صَدْرَهُ  ،  وَضَاعَفَ فِيْهِ مَوَاهِبَ اْلإِنْعَامِ عَلَى الْعَالَمِيْنَ  ، أَحْمَدُهُ وَأَشْكُرُهُ عَلَى مَا أَوْلَى مِنْ مَوَاهِبِ اْلجُوْدِ وَاْلكَرَمِ  ،  وَأَسْتَغْفِرُهُ  وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ مُفِيْضُ اْلإِحْسَانِ وَالنِّعَمِ  ،  وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَناَ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ  سَيِّدُ اْلعَرَبِ وَالْعَجَمِ  ، اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِناَ مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ  .

 أَمَّا بَعْدُ : فَيَا أَيُّهَا النَّاسُ  ،  إِتَّقُوا اللهَ حَقَّ تُقَاتِهِ ولاَ تَمُوْتُنُّ إِلاَّ وَأَنْتُمْ مُسْلِمُوْنَ  ،  أَلاَ وَصَلُّوْا عَلَى نَبِيِّكُمْ يَاحَاضِرِيْنَ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا  ،  إِنَّ اللهَ وَمَلاَئِكَتَهُ يُصلُّوْنَ عَلَى النَّبِىِّ يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا صَلُّوْا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا

        اَللَّهُمَّ اغْفِرْ لِلْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ اْلأَحْياَءِ مِنْهُمْ وَاْلأَمْوَاتِ بِرَحْمَتِكَ يَا أَرْحَمَ الرَّاحِمِيْنَ  ،  رَبَّنَا تَقَبَّلْ مِنَّا إِنَّكَ أَنْتَ السَّمِيْعُ الْعَلِيْمُ  ،  وَتُبْ عَلَيْنَا إِنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الرَّحِيْمُ  ،  وَاجْعَلْنَا مِنَ الَّّذِيْنَ تَجْرِيْ مِنْ تَحْتِهِمُ اْلأَنْهَارُ فِيْ جَنَّاتِ النِّعِيْمِ  ،  دَعْوَاهُمْ فِيْهَا سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَتَحِيَّتُهُمْ فِيْهَا سَلاَمٌ  ، وَآخِرُ دَعْوَاهُمْ أَنِ اْلحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ اْلعَالَمِيْنَ .

 

คุตบะห์ฉบับไฟล์ PDF

  • ดาวน์โหลดไฟล์คุตบะห์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top