ลัยละตุ้ลก็อดร
اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِيْ فَرَضَ رَمَضَانَ عَلَى أُمَّةِ خَيْرِ الْبَرِيَّةِ ، كَمَا فَرَضَ الصِّيَامَ عَلَى جَمِيْعِ اْلأُمَمِ الْمَاضِيَةِ فِي الشَّرَائِعِ السَّمَاوِيَّةِ ، وَأَنْزَلَ فِيْهِ الْقُرْآنَ هُدًى لِلنَّاسِ وَرَحْمَةً لِّلأُمَّةِ اْلإِسْلاَمِيَّةِ ، وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ أَجْزَلَ الْخَيْرَ لِلطَّائِعِيْنَ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَناَ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ أَفْضَلُ الصَّائِمِيْنَ وَإِمَامُ الْمُخْلِصِيْنَ ، اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا وَحَبِيْبِنَا وَشَفِيْعِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ الطَّيِّبِيْنَ الطَّاهِرِيْنَ .وَبَعْدُفَيَا عِبَادَ اللهِ ، إِتَّقُوا اللهَ وَأَطِيْعُوْهُ فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرآنِ الْمَجِيْدِ : يَاأَيُّهاَ الَّذِيْنَ آمَنُوْا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْنَ .
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงกล่าวว่า
إِنَّا أَنْزَلْناَهُ فِيْ لَيْلَةِ الْقَدْرِ ، وَمَا أَدْرَاكَ مَا لَيْلَةُ الْقَدْرِ ، لَيْلَةُ القَدْرِ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ ، تَنَزَّلُ الْمَلاَئِكَةُ وَالرُّوْحُ فِيْهاَ بِإِذْنِ رَبِّهمْ مِنْ كُلِّ أَمْرٍ ، سَلاَمٌ هِيَ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ . سورة القدر الآية 1-5
ความว่า “แท้จริงเรา(อัลลอฮ์ )ได้ประทานลงมา(จากเลาหี้ลมะฮห์ฟูซ สู่ชั้นฟ้าดุนยาคือบัยตุ้ลอิซซะฮ์) ในคืนอั้ลก็อดร และอะไรเล่าจะให้เจ้าทราบได้ว่าคืนอั้ลก็อดรนั้นคืออะไร คืนอั้ลก็อดรนั้นดียิ่งกว่าพันเดือน เหล่ามะลาอิกะฮ์ และญิบรี้ลจะลงมาในคืนก็อดร โดยอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขา อันเนื่องจากกิจการทุกๆ สิ่งที่พระองค์ทรงกำหนด ความศานติจะบังเกิดขึ้นจนกระทั้งรุ่งอรุณ”
การประกอบคุณงามความดีในคืนลัยละตุ้ลก็อรด์ จากการละหมาด อ่าน กุรอ่าน การซิเกร มันดีกว่าพันเดือน ซึ่งไม่เกิดขึ้นในคืนอื่นๆ อิสลามจึงสนับสนุนให้แสวงหาคืนลัยละตุ้ลกอรด์ โดยเฉพาะคืนที่เป็นจำนวนคี่ในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฏอม ดังปรากฏ จากท่านนบี ศ้อลฯ ท่านจะมุ่งมันและขมักขะเม้นในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฏอน และปรากฏว่าท่านนบี ศ้อลฯ นั้น
كاَنَ إِذَا دَخَلَ اْلأَوَاخِرَ أَحْيَ الْلَيْلَ وَأَيْقَظَ أَهْلَهُ وَشَدَّ الْمِئْزَرَ . رواه البخاري ومسلم عن عائشة
ความว่า “ปรากฏว่าท่านนบี ศ้อลฯ ได้ให้เวลากลางคืนมีชีวิตชีวาด้วยการทำอิบาดะห์และท่านจะปลุกครอบครัว และท่านจะกระชับผ้า(แต่งกายให้เรียบร้อย)” และมีบันทึก ของอิหม่ามมุสลิม ว่า
كَانَ يَجْتَهِدُ فِيْ الْعَشْرِ اْلأَوَاخِرِ مَا لاَ يَجْتَهِدُ فِيْ غَيْرِهِ .
ความว่า “ท่านนบี ศ้อลฯ จะขมักขะเม้นในการอิบาดะห์ในสิบคืนสุดท้ายซึ่งท่านมิได้ขมักขะเม้นในคืนอื่นๆ เหมือนนั้นเลย”
ซึ่งอาจมีคำถามว่า และมันคืนใดกันหรือ ?
นักวิชาการหรือบรรดาอุละมาอ์มีหลากหลายทัศนะในการเจาะจงลงไปว่าเป็นคืนใด
บางกลุ่มมีความเห็นว่า มันคือวันที่ 21
และบางกลุ่มมีความเห็นว่า มันคือวันที่ 23
และบางกลุ่มมีความเห็นว่า มันคือวันที่ 25
และบางกลุ่มมีความเห็นว่า มันคือวันที่ 29
บางกลุ่มมีความเห็นว่า คืนลัยละตุ้ลก็อรด์จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปในช่วงเวลาคืนสุดท้ายที่เป็นจำนวนคี่ เเต่ส่วนใหญ่ของนักวิชาการได้ให้ทัศนะว่ามันคือ คืนที่ 27 ของรอมฎอน โดยยึดจากรายงานซึ่งบันทึกโดยท่านอะหมัด จากอิบนุอุมัร ได้กล่าวว่า
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم : مَنْ كَانَ مُتَحَرِّيْهَا فَلْيَتَحَرَّهَا لَيْلَةَ السَّابِعِ وَالعِشْرِيْنَ .
ความว่า “ท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า ผู้ใดที่มุ่งมั่นแสวงหาคืนลัยละตุ้ลก็อดร์ ดั้งนั้นเขาจงแสวงหามันในค่ำคืนที่ 27”
ท่านอุบัย บินกะอับ กล่าวว่า
وَاللهِ الَّذِيْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ إِنَّهَا لَفِيْ رَمَضَانَ وَ وَاللهِ إِنِّيْ لَأَعْلَمُ أَيُّ لَيْلَةٍ هِيَ ، هِيَ الْلَيْلَةُ الَّتِيْ أَمَرَنَا رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم بِقِيَامِهَا هِيَ لَيْلَةُ سَبْعٍ وَعِشْرِيْنَ ، وَأَمَارَتُهاَ أَنْ تَطْلُعَ الشَّمْسُ فِيْ صَبِيْحَةِ يَوْمِهَا بَيْضَاءَ لاَ شِفَاءَ لَهَا .
ความว่า “ขอสาบานต่อผู้ซึ่งไม่มีเจ้าอื่นใดที่ถูกกราบไว้โดยเที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮ์ ตะอาลา แท้จริงมันคือคืนที่อยู่ในเดือนรอมฏอน และขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา แท้จริงฉันทราบดีว่าก็อดัร มันคือค่ำคืนใด มันคือค่ำคืนซึ่งท่านนบี ศ้อลฯ ได้ใช้พวกเราให้กิยามุ้ลลัยน์ มันคือค่ำคืนที่ 27 และสัญลักษณ์ของมันคือดวงอาทิตย์จะขึ้นในยามเช้าของวันนั้นโดยขาวสะอาดไม่มีแสงจ้าของมัน”
ท่านพี่น้องครับ จากทัศนะต่างๆ ของอุละมาอ์ของคืนลัยละตุ้ลก็อดร์ ซึ่งอยู่ในเดือนรอมฏอนแต่ไม่สามารถฟันธงไปว่าคืนไหน คือหิกมะหฮ์หนึ่ง ซึ่งอัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงประทานให้แก่อุมมะฮ์แห่งศาสดา ศ้อลฯ เพื่อพวกเราจะได้มุมานะในการอิบาดะหฮ์ ในคืนต่างๆ ของรอมฎอน เพื่อให้ได้ประสพแก่คืนที่มีนามว่า อัลก็อดร์และเพื่อแสวงหาการพึงพอพระทัยจากพระองค์อัลลอฮ์ ตะอาลา ในการฏออัต ตลอดเดือนและออกห่างจากการเผอเรอตลอดเดือนเช่นกัน เชกเช่นอัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงปกปิดวันกิยามะฮ์ ซึ่งเราไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นมาวันใด ทั้งนี้เพื่อเราจะได้ทุ่มเทชีวิตเพื่อโลกหน้าของเราและหวาดกลัวกับอันตรายที่ต้องเผชิญในวันข้างหน้า
أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِر الْمُسْلِمِيْنَ ، فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ .