วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 24:17 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> การถือศีลอด
การถือศีลอด

การถือศีลอด

การถือศีลอด

اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِيْ فَرَضَ رَمَضَانَ عَلَى أُمَّةِ خَيْرِ الْبَرِيَّةِ ، كَمَا فَرَضَ الصِّيَامَ عَلَى جَمِيْعِ اْلأُمَمِ الْمَاضِيَةِ فِي الشَّرَائِعِ السَّمَاوِيَّةِ ، وَأَنْزَلَ فِيْهِ الْقُرْآنَ هُدًى لِلنَّاسِ وَرَحْمَةً لِلْأُمَّةِ الْإِسْلاَمِيَّةِ ، وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ أَجْزَلَ الْخَيْرَ لِلطَّائِعِيْنَ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَناَ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ أَفْضَلُ الصَّائِمِيْنَ وَإِمَامُ الْمُخْلِصِيْنَ ، اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا وَحَبِيْبِنَا وَشَفِيْعِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ الطَّيِّبِيْنَ الطَّاهِرِيْنَ ، وَبَعْدُ فَيَاعِبَادَ اللهِ ، إِتَّقُوا اللهَ وَأَطِيْعُوْهُ فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرآنِ الْمَجِيْدِ : يَاأَيُّهاَ الَّذِيْنَ آمَنُوْا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْنَ .

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก                                                  

นักวิชาการกล่าวว่า การถือศีลอดมีสามลำดับด้วยกัน

๑.     صَوْمُ الْعَوَامِ การถือศีลอดของอะวาม

๒.  صَوْمُ الْخَوَّاصِ   การถือศีลอดของคอววาศ

๓.    صَوْمُ خَوَّاصِ الْخَوَّاصِการถือศีลอดของคอววาศุ้ลคอววาศ

การถือศีลอดของคนอะวาม صَوْمُ الْعَوَامِ   คือ เพียงแต่ยับยั้งกระเพาะหรือท้องของเขาและอวัยวะเพศของเขาจากความต้องการของอารมณ์

การถือศีลอดของคนคอววาศ صَوْمُ الْخَوَّاصِ   คือ การรักษาอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้พ้นจากการล่วงล้ำสู่สิ่งที่มิชอบทางศาสนา ซึ่งดังกล่าวนี้จำเป็นต้องสำรวมไปด้วย 5 ประการ

๑.       غَضُّ الْبَصَرِ عَنْ كُلِّ مَا يُذَّمُّ شَرْعًاละสายตาจากทุกสิ่งซึ่งเป็นที่ตำหนิของศาสนา

๒.    حِفْظُ الْلِسَانِ عَنِ الْغِيْبَةِ وَالْكَذِبِ وَالنَّمِيْمَةِ وَالْيَمِيْنِ الْغُمُوسِ    รักษาลิ้นหรือวาจาโดยไม่มีการนินทา การมุษา การยุแหย่ใส่ร้ายให้เกิดการขุ่นเคือง และการสาบานอันเป็นเท็จ

ซึ่งดังกล่าวมีรายงานจากท่านอะนัส จากท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า

خَمْسَةُ أَشْيَاءَ تَحْبِطُ الصَّوْمَ الْكَذِبُ وَالْغِيْبَةُ وَالْنَّمِيْمَةُ وَالْيَمِيْنُ الْغُمُوْسِ وَالنَّظَرُ بِشَهْوَةٍ  . رواه الديلمي

          ความว่า “ห้าประการซึ่งทำลายการถือศีลอด (นักวิชาการให้ทัศนะว่าคือผลบุญของการถือศีลอด) พูดโกหก การนินทา การยุแหย่ใส่ร้าย การสาบานเท็จ และการเพ่งมองด้วยอารมณ์ปรารถนา”

๓.    كَفُّ الأُذُنِ عَنِ اسْتِمَاعِ كُلِّ مَكْرُوْهٍ   รักษาหูจากการรับฟังเรื่องราวที่น่ารังเกียจ

๔.    كَفُّ جَمِيْعِ الْأَعْضَاءِ عَنِ الْمَكاَرِهِ   ยับยั้งอวัยวะต่างๆมิให้ข้องแวะกับสิ่งที่น่ารังเกียจ

๕.  كَفُّ الْبَطْنِ عَنِ الشُّبُهاَتِ فِيْ وَقْتِ اْلإِفْطَارِ  รักษากระเพาะให้ปลอดจากอาหารที่ชุบฮัตในเวลาละศีลอด

เพราะไม่มีผลประโยชน์ใดเลยในการอดอาหาร หรืองดการกินการดื่ม ทั้งๆ ที่เดิมเป็นของหะล้าลด้วยการที่เขาละศีลอดด้วยของต้องห้าม ประดุจดังคนหนึ่งได้ก่อสร้างปราสาทอันหรูหราแต่กับทำลายเมือง แล้วปราสาทจะคงอยู่ได้อย่างไร

ท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า

كَمْ مِنْ صَائِمٍ لَيْسَ لَهُ مِنْ صِيَامِهِ إِلاَّ الظَّمْأَ .  الحديث رواه الدارمي

ความว่า “มีจำนวนมากเท่าไรแล้วจากผู้ถือศีลอด เขาไม่ได้รับสิ่งใดจากการถือศีลอดของเขา นอกจากความกระหาย” 

และท่านนบี ศ้อลฯ ยังกล่าวอีกว่า

وَرُبَّ صَائِمٍ لَيْسَ لَهُ مِنْ صِيَامِهِ إِلاَّ الْجُوْعِ  .  رواه ابن ماجه

ความว่า “มีผู้ถือศีลอดจำนวนมากที่เขาไม่ได้รับสิ่งใดจากการถือศีลอดของเขา นอกจากความหิวเท่านั้น”

๕.  أَنْ لاَ يَسْتَكْثِرَ مِنَ الْحَلاَلِ وَقْتَ اْلإِفْطَارِ بِحَيْثُ يَمْلَأُ بَطْنُهُ  โปรดอย่าให้การทานอาหารที่หะล้าลมากจนเกินไป ในเวลาละศีลอดโดยล้นกระเพาะ

ท่านนบี ศ้อลฯ ชี้แนะว่า

مَا مَلَأَ آدَمِيٌّ وِعَاءً شَرَّا مِنْ بَطْنٍ بِحَسَبِ ابْنِ آدَمَ أَ كَلاَتٌ يَقُمْنَ صُلْبَهُ فَإِنْ كَانَ لاَ مَحَالَ لَهُ فَثُلُثٌ لِطَعَامِهِ وَثُلُثٌ لِشَرَابِهِ وَثُلُثٌ لِنَفَسِهِ . رواه الترمذي   

    ความว่า “ไม่มีภาชนะใดที่มนุษย์บรรจุให้เต็มที่จะเลวร้ายยิ่งกว่าท้องของเขา เมื่อเขาได้เติมเต็ม พอเพียงแล้วแก่ลูกของอาดัม กับอาหารการกินซึ่งทำให้เขายืนได้ ดังนั้นหากว่าไม่สามารถเลี่ยงได้แล้ว ก็ให้แบ่งเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งเพื่ออาหารหนัก ส่วนสองเพื่อเครื่องดื่ม ส่วนสามเพื่อลมหายใจของเขา”

 

ส่วนการถือศีลอดแบบ خَوَّاصُ الْخَوَّاصِ  คอววาศุ้ลคอววาศ คือ การถือ   ศีลอดทั้งร่างกายและภายใน นั้นคือหัวใจของผู้ถือศีลอดต้องถอดทิ้งสิ่งที่นำมาซึ่งความตกต่ำและผลประโยชน์ของโลกดุนยา มีจิตผูกพันกับพระผู้เป็นเจ้าในขณะเขาถือศีลอด

ท่านพี่น้องครับ  ขอให้เราได้ถือศีลและอดไปในคราวเดียวกัน อย่าอดอย่างเดียวแต่ไม่ถือศีล หรือถือศีลอย่างเดียวแต่ไม่อด ซึ่งถ้ามันขาดไปอย่างหนึ่งอย่างใดย่อมไม่ใช่คำว่า อัศศิยาม ตามบัญญัติอิสลาม

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ ،  وَلِسَائِر الْمُسْلِمِيْنَ فَاسْتَغْفِرُوْهُ  إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ .

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top