บ้านแห่งสิริมงคล
اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِيْ جَعَلَ الْحِلْمَ شِعَارَ الصَّالِحِيْنَ ، وَجَعَلَ الْغَضَبَ سِمَةَ الْحَمْقَى وَنَعْتَ الْمُفْسِدِيْنَ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ الْحَلِيْمُ الْكَرِيْمُ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَنَا مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ ذُوالْخُلُقِ الْعَظِيْمِ ، اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ الْحُلَمَاءِ وَمَنْ سَارَ سَيْرَهُمُ الْقَوِيْمَ . أَمَّا بَعْدُ ، فَيَا عِبَادَ اللهِ ، أُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ أَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ ، فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ : أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ ، وَالْعَصْرِ ، إِنَّ الْإِنْسَانَ لَفِيْ خُسْرٍ ، إِلاَّ الَّذِيْنَ آمَنُوْا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ وَتَوَاصَوْا بِالْحَقِّ وَتَوَاصَوْا بِالصَّبْرِ . صَدَقَ اللهُ الْعَظِيْمُ
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
ปัจจัยที่สำคัญของมนุษย์ประการหนึ่งคือ ที่พักอาศัย นั่นคือ บ้าน แต่บ้านของมุสลิมต้องเป็นบ้านที่พักอาศัยซึ่งนำมากับความสุขในโลกดุนยาและนำพาไปสู่สวรรค์ในอาคิเราะฮ์ และที่สำคัญจะหาความสุขมิได้เลยถ้าหากว่าที่พักอาศัยไม่ปรกคลุมไปด้วยเราะห์มัตของอัลลอฮ์ ตะอาลา จึงนำเสนอเสี้ยวหนึ่งจากวิธีต่างๆ อันอบอวนไปด้วยความเราะห์มัตที่อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงโปรยปรายลงมา
١. اَلذِّكْرُ عِنْدَ الدُّخُوْلِ
- กล่าวซิกรุ้ลลอฮ์ขณะเข้าบ้าน ซึ่งมีรายงานจากท่านบีศ้อลฯ กล่าวว่า
إِذَا وَلَجَ الرَّجُلُ بَيْتَهُ فَلْيَقُلْ : اَللَّهُمَّ إِنِّيْ أَسْأَلُكَ خَيْرَ الْمَوْلَجِ ، وَخَيْرَ الْمَخْرَجِ ، بِسْمِ اللهِ خَرَجْناَ ، وَعَلَى رَبِّناَ تَوَكَّلْناَ …. الحديث رواه أبوداود عن أبي مالك الاشعري
ความว่า “เมื่อใครก็ตามเข้าบ้านให้เขากล่าวขอต่ออัลลฮ์ ตะอาลา ว่า โอ้อัลลอฮ์ ตะอาลา ข้าพระองค์ขอความดีในสถานที่เข้า และความดีในสถานที่ออกไป ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ตะอาลา พวกเราได้ออกไป และต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา พระเจ้าของเรา พวกเราขอมอบหมาย”
٢. اَلتَّسْلِيْمُ عَلَى اْلأَهْلِ
- การให้สลามแก่ครอบครัวหรือผู้พักอาศัยในบ้านท่านอีหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า เป็นการสมควรยิ่งให้ผู้เข้าบ้าน กล่าวนามของอัลลอฮ์ ตะอาลา เช่นกล่าว บิสมิ้ลลาฮ์ และกล่าวซิกรุ้ลเลาะฮ์ ให้มากๆ พร้อมด้วยการให้สลามไม่ว่าบ้านนั้นจะมีคนอยู่หรือไม่ก็ตาม เพราะอัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงตรัสว่า
فَإِذَا دَخَلْتُمْ بُيُوْتاً فَسَلِّمُوْا عَلَى أَنْفُسِكُمْ تَحِيَّةً مِنْ عِنْدِ اللهِ مُبَارَكَةً طَيِّبَةً . سورة النور/ الآية ٦١
ความว่า “ดังนั้นเมื่อพวกเจ้าเข้าไปในบ้าน เจ้าทั้งหลายจงกล่าวสลามให้แก่ของพวกเจ้าเอง เป็นการให้เกียรติซึ่งมีความจำเริญที่ดียิ่ง”
บรรดาอุละมาอ์ได้นำเสนอว่า หากมีคนอาศัยอยู่ในบ้านให้ทำการกล่าวสลามเหมือนปกติ เช่นกล่าวว่า อัสสะลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุ้ลลอฮ์ หากว่าไม่มีใครอยู่ในบ้านเลย ก็ให้เรากล่าวสลามว่า อัสสะลามุอะลัยนา วะอะลาอิบาดิ้ลลาฮิศซอลิฮีน การให้สลามเมื่อเข้าบ้านจะได้มาซึ่งบะรอกัตแก่ตัวผู้กล่าวและครอบครัวหรือผู้ร่วมอาศัยในบ้านนั้น ท่านอะนัส ( ร ฏ ) เล่าว่า
قَالَ لِيْ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ياَ بُنَيَّ إِذَا دَخَلْتَ عَلَى أَهْلِكَ فَسَلِّمْ تَكُنْ بَرَكَةٌ عَلَيْكَ وَعَلَى أَهْلِ بَيْتِكَ . رواه الترمذ ي
ความว่า “ท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวแก่ฉันว่า โอ้ลูกน้อยเมื่อเจ้าเข้าพบครอบครัวเจ้า เจ้าจงกล่าวสลาม มันจะมีบะรอกัตแก่ตัวเจ้า และคนในบ้านของเจ้าคือครอบครัวของเจ้า”
ดังท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า สามคนที่จะได้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของอัลลอฮ์ ตะอาลา หนึ่งในสามคือ
رَجُلٌ دَخَلَ بَيْتَهُ بِسَلاَمٍ فَهُوَ ضَامِنٌ عَلَى اللهِ سُبْحَانَهُ وَتَعَالَى . رواه أبو داود
ในความหมายจากหะดีษบทนี้ ท่านอีหม่ามนะวาวีย์อถาธิบายว่า “ผู้ที่เข้าบ้านของเขาด้วยการกล่าวสลาม เขาจะได้อยู่ภายใต้การรักษาคุ้มครองดูแลจากพระองค์อัลลอฮ์ ตะอาลา”
ท่านพี่น้องที่รัก การให้สลามคือการทักทายหรือแสดงการให้เกียรติกันระหว่างพี่น้องมุสลิมซึ่งเป็นการแสดงออกถึงอัตลักษของคนมุสลิม มิใช่ตีความหมายว่าเป็นสำนวนของคนที่มาขอซอดะเกาะฮ์ และโปรดอย่าได้เข้าใจอย่างนั้น ยิ่งกว่านั้นบรรดาอุละมาอ์ได้ให้ความหมายในสำนวนการให้สลามไว้หลายทัศนะ แต่ที่มีน้ำหนักคือ เป็นการขอความศานติ ความสงบสุข ความเมตตา ความมีบะรอกัต จากอัลลอฮ์ ตะอาลา ให้มีแด่พี่น้องมุสลิมของเรา เราได้มอบความดีต่างๆ จากการขอดุอาอ์ของเราให้รับเราะฮ์มัตแก่มุสลิมทั่วไป เพราะฉะนั้นจงอย่าได้ลืมมอบความสุขแก่ตัวเอง และครอบครัวและบ้านที่เราอาศัยให้เปลี่ยมล้นไปด้วยพระเมตตา ความสงบสุข ความมีบะรอกัต โดยการให้สลามขณะเข้าบ้านด้วยนะครับ
بَارَكَ اللهُ لِيْ وَلَكُمْ فِي الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ وَنَفَعَنِي اللهُ وَإِياَّكُمْ بِمَافِيْهِ مِنَ اْلآياَتِ وَالذِّكْرِ الْحَكِيْمِ أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُاللهَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمٍيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَالْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ .