วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 25:10 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> คุตบะห์อีดิ้ลฎัดฮาเล่ม 18
คุตบะห์อีดิ้ลฎัดฮาเล่ม 18

คุตบะห์อีดิ้ลฎัดฮาเล่ม 18

خُطْبَةُ عِيْدِ اْلأَضْحَى

คุตบะฮ์อีดิ้ลอัฎฮา

اَللهُ أَكْبَرُ ، اَللهُ أَكْبَرُ ، اَللهُ أَكبَرُ ، اَللهُ أَكبَرُ ، اَللهُ أَكْبَرُ ، اَللهُ أَكبَرُ ،  اَللهُ أَكبَرُ ، اَللهُ أَكْبَرُ ، اَللهُ أَكْبَرُ ، اَللهُ أَكْبَرُ كَبِيْرًا وَالْحَمْدُ لِلَّهِ كَثِيْرًا ، وَسُبْحَانَ اللهِ بُكْرَةً وَأَصِيْلاً ، لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَاللهُ أَكْبَرُ ، اللهُ أَكْبَرُ وَلِلَّهِ الْحَمْدُ ،  اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِيْ مَدَّلَنَا مَوَاعِدَ إِحْسَانِهِ وَإِنْعَامِهِ ،  وَأَعَادَ عَلَيْنَا فِيْ هذِهِ اْلأَيَّامِ عَوَاعِدَ بِرِّهِ وَإِكْرَامِهِ  ،  وَخَصَّنَا بِضِيَافَةِ عِيْدِ السُّرُوْرِ عَلَى تَعَاقُبِ أَيَّامِهِ ، وَجَعَلَنَا مِنْ أُمَّةِ سَيِّدِ الْمُرْسَلِيْنَ الْمُشَفِّعِ يَوْمَ الْمَحْشَرِ ،  أَحْمَدُهُ وَأَشْكُرُهُ عَلَى مَا أَوْلَى مِن جَزِيْلِ النِّعَمِ ،  وَأَسْتَغْفِرُهُ وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلهَ إِلاَّ اللهُ عَظِيْمُ اْلإِفْضَالِ وَالْكَرَمِ ،  وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَنَا مُحَمَّدًا رَّسُوْلُ اللهِ سَيِّدُ الْعَرَبِ وَالْعَجَمِ ، اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ  وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ مَا هَلَّلَ وَكَبَّرَ

          أَمَّا بَعْدُ : فَيَا عِبَادَ اللهِ أُوْصِيْكُمْ بِنَفْسِيْ أَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ ،  فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِى الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ : أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ ، بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ .    { إِنَّا أَعْطَيْنَاكَ الْكَوْثَرَ ، فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَانْحَرْ ، إِنَّ شَانِئَكَ هُوَ اْلأَبْتَرُ }  صَدَقَ اللهُ الْعَظِيْمُ .

اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  وَلِلَّهِ الْحَمْدُ

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

         เมื่อมุสลิมมุสลิมคนหนึ่ง ขาดความเคร่งครัด ไม่ใส่ใจคำเตือน ศาสนาของผู้นั้นก็บกพร่อง และคราใดที่ผู้ใดหย่อนยาน ขาดความเคร่งครัดกับบทบัญญัติของศาสนา เขาผู้นั้นอาจถลำตัวและหัวใจเข้าสู่ของชุบฮัต และถลำสู่สิ่งหะรอม มีบางคนหรือหลายคนในหมู่ชนของพวกเรา ไม่ใส่ใจ ไม่รู้สึก ไม่รู้ร้อนรู้หนาว กับปัจจัยยังชีพที่ได้มา และสะสมไว้ใช้บริโภคและอุปโภค และไม่สนใจว่าทรัพย์ที่ได้มานั้นเป็นของ   ฮาลาลหรือฮารอม ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ได้อุบัติขึ้นจริงในยุคสมัยพวกเรานี้เอง ดังคำกล่าวของท่านนบี ศ้อลฯ รายงานจากท่านอะบู ฮุรอยเราะฮ์ ว่า

أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : لَيَأْتِيَنَّ عَلَى النَّاسِ زَمَانٌ لاَ يُبَالِي الْمَرْءُ بِمَا أَخَذَ الْمَالَ أَمِنْ حَلاَلٍ أَمْ مِنْ حَرَامٍ :  رواه البخاري

ความว่า  “แท้จริงท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า แน่แท้ที่จะมียุคสมัยหนึ่งมาประสพแก่มนุษย์ชาติ ซึ่งในยุคสมัยนั้น คนจะไม่ใส่ใจต่อทรัพย์สินที่ได้มาว่าจะ   ฮาลาลหรือฮารอม”

        ถ้าใช้สติปัญญาใคร่ครวญพิจารณา  จะได้ประจักษ์ว่า มีผู้คนมากมายต่างมีความกระหาย เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินในหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่เป็นของฮารอม และหนักยิ่งกว่านั้น มีบางคนพยายามตีความกับสิ่งที่ฮารอม โดยใช้วาทศิลป์โน้มน้าวให้เกิดความเข้าใจว่าเป็นของฮาลาล และได้มีการตีความต่างๆ นาๆ ถึงขั้นเปลี่ยน   ฮุก่มของศาสนา เพียงแต่ขอให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินก็เพียงพอแล้ว บางคนเอาตัวเองไปพัวพันกับอาชีพที่ฮารอม บางคนขายของฮารอม บางคนผลิตของฮารอม

ท่านพี่น้องที่รัก อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ว่า

يَاأَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُلُوا مِنْ طَيِّبَاتِ مَا رَزَقْنَاكُمْ .

ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า”

สำนวนที่สั้นนี้ ทำให้เข้าใจได้ว่าของดีๆ ก็มีมากเราสมารถที่จะเลือกได้ ของไม่ดีก็มีมากมาย เราก็ทิ้งได้และจงอย่าลืมว่า

وَاللهُ طَيِّبٌ لاَ يَقْبَلُ إِلاَّ طَيِّبًا وَكُلُّ لَحْمٍ نُبِتَ مِنْ سُحْتٍ وَحَرَامٍ فَالنَّارُ أَوْلَى بِهِ

          ความว่า “อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงงดงามยิ่ง และพระองค์จะไม่ทรงรับ เว้นเสียแต่ของดีงามเท่านั้น ทุกเนื้อหนังที่มันเจริญเติบโตมาจากสิ่งที่น่ารังเกียจและของที่ฮารอม นรกเท่านั้น เป็นที่พำนักที่ดีที่สุดสำหรับเขา”

اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  وَلِلَّهِ الْحَمْدُ

           ท่านพี่น้องที่รัก สังคมลดค่าและไร้ซึ่งคุณธรรม เนื่องจากคนขาดคุณธรรมแก่ตัวเอง จึงกลายเป็นว่า คนดีอยู่ในสังคมลำบาก เช่น คนหนึ่งไม่แตะต้องของฮารอม ระมัดระวังตัวเองไม่ไปเกี่ยวพันกับสิ่งที่เป็นชุบฮัต กลายเป็นคนแปลก บางคนอยู่ในสถานประกอบการไม่ได้ เงินเดือนก็ไม่ขึ้น สินค้าก็ขายไม่ออก ตำแหน่งหน้าที่ก็ไม่ปรับ ถ้าผู้นั้นมีอีหม่านไม่แน่นแฟ้น ยอมขายของฮารอม ยัดใต้โต๊ะ ติดสินบน เขาผู้นั้นอาจได้รับกับสิ่งที่เขาปรารถนา แต่อีหม่านต้องสลายไป จงอย่าลืมว่า เราไม่ได้ตายแล้วก็แล้วกัน อาลั่มบัรซัครออยู่ข้างหน้า วันอาคิเราะฮ์มีจริง วันสอบสวนมีจริง นรกสวรรค์ก็มีจริง

اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  وَلِلَّهِ الْحَمْدُ

          ท่านพี่น้องที่เคารพรัก ความสุขที่แท้จริงมิใช่เพราะมีทรัพย์สินมาก บางคนมีคฤหาสน์ แต่มีความทุกข์อยู่ในใจ บางคนมีที่พักอาศัยเพียงฝาบ้านปิดด้วยผ้ายาง เพื่อแดดกันฝน เขาก็มีความสุขได้ ความคิดที่พอเพียง หัวใจที่เพียงพอ และใฝ่หาความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ด้วยการไม่ลืมพระองค์และรำลึกถึงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เป็นนิจสิน ก็ทำให้ใจสงบได้ ดังอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

أَلاَ بِذِكْرِ اللهِ تَطْمَئِنُّ الْقُلُوْبُ : سورة الرعد : الآية 28

ความว่า “โปรดได้ทราบว่าด้วยการซิเกรต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะทำให้บรรดาหัวใจเกิดความสงบ”

          ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก ท่านฟะกีฮ์ อะบุลลัยษ์ กล่าวว่า

مَنْ حَفِظَ سَبْعَ كَلِمَاتٍ فَهُوَ شَرِيْفٌ عِنْدَ اللهِ تَعَالَى وَالْمَلاَئِكَةِ ، وَيَغْفِرُ اللهُ ذُنُوْبَهُ وَلَوْ كاَنَتْ مِثْلَ زُبَدِ الْبَحْرِ ، وَيَجِدُ حَلاَوَةَ الطَّاعَةِ ، وَتَكُوْنُ حَيَاتُهُ وَمَمَاتُهُ خَيْراً

          ความว่า “ผู้ใดจดจำเจ็ดประโยค เขาผู้นั้นคือ เป็นผู้ประเสริฐ ณ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และมวลมะลาอีกะห์ และอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงอภัยโทษความผิดทั้งหลายแก่เขา ถึงแม้ว่าความผิดของเขาจำนวนเท่าฟองน้ำทะเล และเขาจะพบกับความหอมหวานแห่งการภักดี และเขาจะพบกับความดี ขณะมีชีวิตและจากโลกดุนยาไปแล้ว”

اَلْاُوْلَى :  أَنْ يَقُوْلَ عَنْدَ إِبْتِدَاءِ كُلِّ شَيْءٍ  ،  بِسْمِ اللهِ الرَحْمَنِ الرَّحِيْمِ

1. ให้กล่าวพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ด้วยคำว่าبِسْمِ اللهِ  ขณะที่เริ่มปฏิบัติงานทุกอย่าง

اَلثَّانِيَةُ :  أَنْ يَقُوْلَ بَعْدَ فِرَاغِ كُلِّ شَيْءٍ ، اَلْحَمْدُ لِلَّهِ

2. ให้สรรเสริญอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ด้วยคำว่า اَلْحَمْدُ لِلَّهِ  หลังจากเสร็จสิ้นจากทุกภารกิจการงาน

اَلثَّالِثَةُ :  إِذَا جَرَى عَلَى لِسَانِهِ مَا لاَ يَعْنِيْهِ أَنْ يَقُوْلَ ، أَسْتَغْفِرُ اللهَ

3. เมื่อใดที่ลิ้นพลาดพลั้งไปในสิ่งที่ไร้สาระหรือไม่เกิดประโยชน์ ให้กล่าวขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ ด้วยคำว่า  أَسْتَغْفِرُ اللهَ

اَلرَّابِعَةُ :  إِذَا أَرَادَ فِعْلاً غَدًا أَنْ يَقُوْلَ : إِنْ شَاءَ اللهُ

4. คราใดที่ปรารถนากระทำในสิ่งที่เป็นอนาคต ให้กล่าวคำว่า إِنْ شَاءَ اللهُ

اَلْخَامِسَةُ :  إِذَا إِسْتَقْبَلَ إِلَيْهِ فِعْلٌ مَكْرُوْهٌ أَنْ يَقُوْلَ ، لاَحَوْلَ وَلاَ قُوَّةَ إِلاَّ بِاللهِ الْعَلِيِّ الْعَظِيْمِ

5. เมื่อการกระทำที่น่ารังเกียจได้มาเผชิญ ให้กล่าวว่า لاَحَوْلَ وَلاَ قُوَّةَ إِلاَّ بِاللهِ الْعَلِيِّ الْعَظِيْمِ

اَلسَّادِسَةُ :  إِذَا أَصَابَتْهُ مُصِيْبَةٌ أَنْ يَقُوْلَ : إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّا إِلَيْهِ رَاجِعُوْنَ .

6.  ให้กล่าวคำว่า  إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّا إِلَيْهِ رَاجِعُوْنَ  เมื่อได้ประสบกับภัยพิบัติต่างๆ

اَلسَّابِعَةُ :  لاَ يَزَالُ يَجْرِيْ عَلَى لِسَانِهِ فِي الْلَيْلِ وَالنَّهَارِ كَلِمَةُ ، لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ مُحَمَّدٌ رَسُوْلُ اللهِ

7.  ให้ลิ้นคงอยู่กับสองกะลีมะห์  لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ مُحَمَّدٌ رَسُوْلُ اللهِ ทั้งเวลากลางวันและยามค่ำคืน

اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  وَلِلَّهِ الْحَمْدُ

อะกีดะฮ์ของมุสลิม คือ اَلْإِيْمَانُ يَزِيْدُ وَيَنْقُصُ “อีหม่านของมนุษย์มีลดและมีเพิ่ม”

       ผู้ประกอบคุณงามความดี อีหม่านของผู้นั้นก็จะเพิ่ม ผู้ที่ทำความชั่วอีหม่าน ของผู้นั้นก็จะลด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำความชั่วก็กลับเนื้อกลับตัวได้ ตราบใดที่วิญญาณยังไม่ถึงลูกกระเดือก แต่คราใดที่ผู้นั้นพลาดพลั้งไปในการทำความชั่ว ให้ผู้นั้นรีบเตาบัตตัวและสำนึกผิด อย่าได้รีรอ เพราะไม่มีใครทราบว่าวันตายจะมาเยือนเมื่อไหร่และจะไปตายที่ไหน

อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

فَإِذَا جَاءَ أَجَلُهُمْ لاَ يَسْتَأْخِرُوْنَ سَاعَةً وَلاَ يَسْتَقْدِمُوْن : سورة الاعراف : الآية  34

ความว่า “ดังนั้น เมื่อกำหนดความตาย (อะญั้ล) ของพวกเขามาถึง เขาทั้งหลาย ก็จะมิอาจประวิงเวลาไว้ก่อน และเขาทั้งหลาย ก็ไม่สามารถล่วงหน้าไปแม้แต่ครู่เดียว”

             มุสลิมต้องร่วมด้วยช่วยกันในการทำความดี อย่าปรามาสกัน เพราะผู้ที่เตาบัตตัว ถือว่าผู้นั้นเป็นคนดีแล้ว ข้อสำคัญเมื่อดีแล้วอย่าไปประพฤติชั่วอีก  มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง ได้เล่าถึงผลของการสำนึกผิดและลบล้างความชั่วด้วยการทำความดี โดยท่านอัชชัยค อั้ลอิมาม อะบี นัศรอัสสะมัรกอนดีย์  ท่านเล่าว่า

             ท่านหะซัน อั้ลบัศรีย์ ขณะวัยหนุ่ม ท่านได้ดำรงชีวิตแบบชายหนุ่มเจ้าสำราญ สวมเครื่องแต่งกายด้วยอาภรที่หรูหรา เดินตระเวนเที่ยวเตร่รอบเมืองบัศเราะฮ์ มีอยู่วันหนึ่ง สายตาของท่านได้ไปสัมผัสกับหญิงนางหนึ่ง ที่สง่างาม สภาพชายหนุ่มเจ้าสำราญ ได้เดินตามหลังหญิงนางนั้น ที่ท่านเกิดสะดุดตาและตรึงใจ หญิงนางนั้น ได้เหลียวมองท่านหะซัน และกล่าวว่า… ท่านไม่มีความละอายบ้างหรือ? ท่านหะซัน ย้อนตอบเธอไปว่า…ฉันต้องละอายใครกัน? หญิงนางนั้น กล่าวเตือนท่านว่า…     ท่านต้องอายต่อผู้ที่ทรงทราบดีกับสายตาของผู้ที่มีอธรรม และผู้ที่ทรงรู้ถึงสิ่งที่ซ้อนเร้นอยู่ในใจ ท่านหะซัน ได้เกิดความรู้สึกลึกๆ ถึงความเจ็บปวด แต่ก็มิอาจต่อต้านกับอารมณ์นัฟซูของท่านได้ ท่านจึงเดินตามหญิงนางนั้น ไปด้วยหัวใจที่ปรารถนาในตัวนาง หญิงนางนั้นกล่าวว่า… ท่านต้องการอะไรกันนี่? ท่านหะซันตอบว่า… ฉันรู้สึกเสน่หากับสองตาของเธอ หญิงนางนั้นกล่าวแก่ท่านหะซันว่า… ถ้าอย่างนั้น ขอให้ท่านนั่งรอข้าอยู่ที่นี่แหละ ข้าจะส่งสิ่งที่ท่านปรารถนามาให้ ท่านหะซันครุ่นคิดอยู่ในใจส่วนลึกว่า หญิงนางนั้นคงมีใจให้ท่านประดุจดังที่ท่านมีใจแก่นาง เวลาผ่านไปไม่นานนัก ได้มีหญิงรับใช้นางหนึ่ง เข้ามาพบท่านหะซัน พร้อมด้วยถาดซึ่งปิดด้วยผ้าที่บางเบา ท่านหะซันได้เปิดผ้าคลุมถาดนั้น ถึงกับตลึง…! เพราะใต้ผ้าผืนนั้น มีสองลูกตาซึ่งถูกควักออกมาจากเบ้าตา หญิงรับใช้ได้กล่าวเอ่ยแก่ท่านหะซันว่า… นายหญิงของข้านี้ ไม่อยากมีลูกตาที่เป็นสาเหตุให้เกิดฟิตนะฮ์แก่ชายผู้ใด ในขณะนั้นท่านหะซันตัวสั่นสะท้าน ขนทุกเส้นลุกทั่วร่างกาย ท่านกล่าวประณามตัวเองและเกิดความเสียใจที่มิเคยเกิดขึ้นเช่นนี้มาก่อน ความรู้สึกผิดผนวกไปด้วยความเสียใจ ท่านเดินกลับบ้านด้วยความรู้สึกผิด ท่านนอนร่ำไห้ตลอดราตรีนั้น ครั้นรุ่งเช้าได้มาเยือน ท่านมุ่งหน้าค้นหาบ้านของหญิงนางนั้น เพื่อขอความเห็นใจและยอมรับผิดต่อการกระทำของท่านและขอให้เธอให้อภัยจากความเขลาของท่าน แต่เหตุการณ์ที่ท่านหะซันได้พบ บ้านของหญิงนางนั้นถูกปิดตาย ท่านเพียงแต่ได้ยินเสียงร้องไห้เนื่องจากความเสียใจของชาวบ้านข้างเคียง ท่านหะซัน จึงได้เอ่ยถามว่า… มันเกิดอะไรขึ้นกันหรือ? และท่านได้รับคำตอบว่า หญิงนางหนึ่งได้กลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) แล้ว หญิงนางนั้นเป็นผู้ที่ควักสองลูกตาของเธอ เพื่อเพียงที่ไม่ต้องการให้สองลูกตาของเธอไปสร้างความเสน่ห์หาแก่ชายผู้ใด ท่านหะซันเสียใจมากถึงกับร้องไห้สามวันสามคืน น้ำตาเกือบจะเป็นสายเลือด ในคืนต่อมา ท่านได้หลับไปด้วยความอ่อนเพลียท่านได้ฝันเห็นหญิงนางนั้น ได้รับความผาสุกในสวรรค์ ท่านหะซันจึงเอ่ยขอการอภัยแก่เธอว่า… โปรดได้อภัยในความผิดของข้าด้วยเถิด หญิงนางนั้นตอบในฝันว่า ข้าอภัยให้ท่านแล้ว เพราะข้าได้พบกับความสุขเช่นนี้ได้เพราะท่านเช่นเดียวกัน ท่านหะซัน ได้ขอคำแนะนำจากหญิงนางนั้นว่า… เธอได้โปรดให้คำเตือนแก่ข้าด้วยเถิด… หญิงนางนั้น ได้กล่าวแก่ท่านหะซัน   ว่า… ท่านอย่าได้ให้เวลาผ่านไป โดยไม่รำลึกถึงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) (ซิกรุ้ลลอฮ์) และขอให้ท่านได้สำนึกผิด (อิสติฆฟาร) และกลับตัวกลับใจทำความดีเพื่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) หลังจากนั้น ท่านหะซัน กลายเป็นผู้ภัคดีต่อองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) มีความสุขุมคัมภีรภาพใช้ชีวิตอย่างสมถะจนถูกล่ำลือและถูกกล่าวขานว่าท่านเป็นผู้ที่มีความฎออัต (طَاعَةُ) และซาเฮ็ด (زَاهِدُ) ด้วยสาเหตุแห่งการอิสติฆฟารและเตาบัตพร้อมด้วยจิตใจที่รำลึกอยู่กับพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่เล่ามานี้เป็นเพื่อเป็นอนุสติแก่พวกเรา และเพื่อจะได้มีความสำรวมตน ดังท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า

بَلِّغُوْا عَنِّيْ وَلَوْ آيَةُ ، وَحَدِّثُوْا عَنْ بَنِيْ إِسْرَائِيْلَ وَلاَحَرَجَ… : رواه الامام أحمد والبخاري عن عبد الله بن عمرو

ความว่า “เจ้าทั้งหลาย จงเผยแผ่จากฉันไปแม้เพียงหนึ่งอายะฮ์ และจงเล่าสู่กันฟังเถิดจากเรื่องเล่าของนบีอิสรออีลไม่มีบาปหรอก”

اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  وَلِلَّهِ الْحَمْدُ

            ท่านพี่น้องที่รัก เป็นความปรารถนาของมุสลิมทั่วโลกที่จะได้กล่าวคำว่า      اللهُ  أَكْبَرُ  พร้อมกับได้ยินสำนวนนี้ด้วยความรู้สึกปลาบปลื้มปีติยินดี ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก หรือผู้ใหญ่ ต่างแซ่ซ้องประกาศความเกรียงไกรของพระเจ้า แต่ละคนก็อาบน้ำ ประดับร่างกายใส่ของหอม ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส จูงลูกจูงหลานมุ่งหน้าสู่มัสยิดในวันอีดอัฎฮา เพื่อทำการละหมาดเป็นการภักดีต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่พระองค์ได้ทรงประทานเนี๊ยะมัตให้ได้รับความสุข พร้อมได้มีโอกาสแสดงความกตัญญูต่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยการกล่าวตักเบรว่า อัลลอฮุอักบัร

อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

لِتُكَبِّرُوا اللهَ عَلىَ مَاهَدَاكُمْ :  سورة الحج : الآية 37

ความว่า  “เพื่อพวกเจ้าจักได้แซ่ซ้องสรรเสริญอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อย่างเกรียงไกรต่อการที่พระองค์ทรงชี้แนะแก่พวกเจ้า

และพระองค์ทรงกล่าวไว้ในซูเราะฮ์ อัลบะกอเราะฮ์ อีกว่า

وَاذْكُرُوا اللهَ فِيْ أَيَّامٍ مَّعْدُوْدَاتٍ :  سورة البقرة : الآية 203

ความว่า  “และพวกท่านจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในบรรดาวันที่ถูกนับไว้”  (คือวันที่ 11 – 13 ของเดือนซู้ลฮิจญะะฮ์)

สำนวนของการกล่าวตักบีร คือ

اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ، اَللهُ أَكْبَرُ ، لا إِلَهَ إِلاَّ اللهُ ، اَللهُ أَكْبَرُ ، اَللهُ أَكْبَرُ ، وَلِلَّهِ الْحَمْدُ

การกล่าวตักบีรนี้ ไม่นับในการละหมาดและคุตบะห์ (ธรรมเทศนา) กล่าวคือ การกล่าวตักบีร มีลักษณะแบ่งออกเป็นดังนี้

  1. ตักบีรมุรซัล  مُرْسَلٌ นี้มีบัญญัติให้กล่าวทั้งอีดิ้ลฟิตริ์และอีดิ้ลอัฎฮา เป็นสุนัตสำหรับชาย หญิง ด้วยการกล่าวขณะอยู่บ้าน ตามทางสัญจร ที่มัสยิดและท้องตลาด เริ่มกล่าวตั้งแต่อาทิตย์ลับขอบฟ้าของคืนวันอีด และให้ทำการต่อเนื่องจนกระทั่งอีหม่ามเข้าสู่ที่ทำการละหมาด
  2. ตักบีรมุกอยยัด مُقَيَّدٌ มีบัญญัติเฉพาะอีดิ้ลอัฎฮา ให้กล่าวหลังจากการละหมาดฟัรฎู 5 เวลา ไม่ว่าจะเป็นละหมาดในเวลาหรือละหมาดชดใช้ก็ตาม และสุนัตให้กล่าวหลังจากละหมาดสุนัตร่อว่าเต็บ สุนัตมุตลัก และหลังการละหมาดญ่านาซะห์ جَنَازَةٌ ในเวลาดังกล่าว สำหรับเวลาการกล่าวตักบีรمُقَيَّدٌ  เริ่มหลังจากละหมาดซุบฮิ ของวันอารอฟะห์ จนกระทั่งหลังละหมาดอัสรี่ ในวันสุดท้ายของวันตัชรีก

اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  وَلِلَّهِ الْحَمْدُ

ในวันอีดิ้ลอัฎฮาพี่น้องมุสลิมที่มีฐานะดีต่างก็สนองคำสั่งใช้ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่พระองค์ทรงตรัสว่า

إِنَّا أَعْطَيْنَاكَ الْكَوْثَرَ ،  فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَانْحَرْ ،  إِنَّ شَانِئَكَ هُوَ الأَبْتَرُ : سورة الكوثر:   الآية 1-3

          ความว่า  “แท้จริงเราได้ประทานอัลเกาษัรแก่เจ้าแล้ว (ซึ่งเป็นแม่น้ำในสวรรค์)  ดังนั้น เจ้าจงละหมาดและจงเชือดสัตว์พลี แท้จริงศัตรูของเจ้านั้นเขาเป็นผู้ถูกตัดขาด”

รายงานจากท่านหญิงอาอีชะห์ เล่าว่า  ท่านนบีกล่าวว่า

مَا عَمِلَ آدَمِيٌّ مِنْ عَمَلِ يَوْمِ النَّحْرِ أَحَبُّ إِلَى اللهِ مِنْ إِهْرَاقِ الدَّمِ  ، إِنَّهَا لَتَأْتِيْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ بِقُرُوْنِهَا وَأَشْعَارِهَا وَأَظْلاَفِهَا وَأَنَّ الدَّمَ لَيَقَعُ مِنَ اللهِ بِمَكَانٍ قَبْلَ أَنْ يَقَعَ عَلىَ اْلأَرْضِ …. : رواه الترمذي

          ความว่า  “ไม่มีการประกอบภารกิจใดของลูกหลานอาดัมในวันนะหัร เป็นที่รักยิ่ง ณ ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไปกว่าการเชือดกุรบ่าน แท้จริงจะบังเกิดขึ้นมาในวันกียามะห์ พร้อมด้วยเขาของมัน ขนของมัน เล็บของมันและเลือดของกุรบ่าน จะเป็นที่ตอบรับ ณ ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก่อนที่หยดเลือดจะตกถึงพื้นดินเสียอีก”

การเชือดสัตว์ทำกุรบ่านเป็นซุนนะฮ์มุอักกะดะฮ์  سُنَّةٌ مُؤَكَّدَةٌ  และถือว่ามักโร๊ะห์ ถ้าไม่ปฏิบัติเมื่อเขามีความสามารถ ดังมีรายงานจากท่าน อะนัส ว่า

أَنَّ النَبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ضَحَّى بِكَبْشَيْنِ أَمْلَحَيْنِ أَقْرَنَيْنِ ذَبَحَهُمَا بِيَدِهِ وَسَمَّى وَكَبَّرَ :  رواه البخاري ومسلم

        ความว่า “แท้จริงท่านนบี ศ้อลฯ ได้เชือดกุรบ่านด้วยแกะสองตัว ที่สีขาวปนดำมีสองเขาที่สวย

และจาก อุมมี ซะละมะฮ์ ว่า

أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : إِذَا رَأَيْتُمْ هِلاَلَ ذِي الْحِجَّةِ وَأَرَادَ أَحَدُكُمْ أَنْ يُضَحِّيَ فَلْيُمْسِكْ عَنْ شَعْرِهِ وَأَظْفَارِهِ :  رواه مسلم

ความว่า  “ท่านนบี ศ้อลฯ ได้กล่าวว่า เมื่อพวกท่านได้เห็นเดือนที่เข้าสู่  ซุ้ลฮิจยะห์ และคนใดจากพวกท่านปรารถนาที่จะทำการเชือดกุรบ่าน จงอย่าตัดผม ขน และเล็บ

           คำว่า เมื่อท่านต้องการหรือปรารถนาเป็นหลักฐานถึงการเชือดกุรบ่านว่าเป็นสุนัต ไม่ถึงขั้นวายิบ ยกเว้นในกรณีที่ได้บนบานเอาไว้หรือกล่าว هَذِهِ لِلَّهِ  สัตว์ตัวนี้เพื่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) หรือ  هَذِهِ اُضْحِيَّةٌ  สัตว์ตัวนี้เพื่อทำกุรบ่าน  และตามทัศนะของอิหม่ามมาลิก กล่าวว่า ถ้าผู้ใดได้ซื้อสัตว์โดยมีเจตนาทำกุรบ่าน ถือว่าจำเป็น และสำหรับเงื่อนไขเวลาเชือดให้ทำการเชือดเมื่อเสร็จจากการละหมาดและสองคุตบะฮ์  โดยมีบันทึกของท่านบุคอรี และมุสลิม จากท่านนบี (ศ้อลฯ) กล่าวว่า

مَنْ ذَبَحَ قَبْلَ الصَّلاَةِ فَإِنَّمَا يَذْبَحُ لِنَفْسِهِ ، وَمَنْ ذَبَحَ بَعْدَ الصَّلاَةِ وَالْخُطْبَتَيْنِ فَقَدْ أَتَمَّ نُسُكَهُ وَأَصَابَ سُنَّةَ الْمُسْلِمِيْنَ : متفق عليه

          ความว่า  “ผู้ใดเชือดกุรบ่านก่อนละหมาด แท้จริงเขาจะเชือดเพื่อตัวเขาเอง และผู้ใดเชือดกุรบ่านหลังละหมาดและสองคุตบะห์ แท้จริงได้สมบูรณ์แบบการเชือดสัตว์พลีทาน และได้ปฏิบัติตามแนวทางของบรรดามุสลิม

اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  وَلِلَّهِ الْحَمْدُ

           ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก การเชือดกุรบ่านพลีทาน เป็นบัญญัติจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เพื่อให้มวลมุสลิมได้แสดงออกถึงความเอื้ออาทรต่อครอบครัว เพื่อนบ้านที่เป็นมุสลิมและบรรดาคนยากไร้ เป็นสุนัตแก่เจ้าของ กุรบ่าน ให้ได้รับประทานทานเนื้อ   กุรบ่านของเขา และให้เป็นของกำนัลแก่เครือญาติและบริจาคแก่บรรดาคนยากจน และเพื่อปลูกจิตสำนึกถึงความศรัทธาอันแรงกล้าของเด็กชายผู้หนึ่งซึ่งเป็นนบีแห่งอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่มีนามชื่อว่า อิสมาอีล พร้อมกับผู้ที่เป็นบิดาที่มีนามชื่อว่า    อิบรอฮีม อะลัยฮิมัส สลาม และโดยเฉพาะได้ปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และเป็นซุนนะฮ์ของท่านนบี (ศ้อลฯ)

بَارَكَ اللهُ لِيْ وَلَكُمْ فِي الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ ، وَنَفَعَنِي اللهُ وَإِياَّكُمْ بِمَافِيْهِ مِنَ اْلآياَتِ وَالذِّكْرِ الْحَكِيْمِ ، أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمٍيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ .

الخطبة الثانية

คุตบะห์ 2

اللهُ أَكْبَرُ   (7 ครั้ง)

اللهُ أَكْبَرُ ، اللهُ أَكْبَرُ ، لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ ، اللهُ أَكْبَرُ ، اللهُ أَكْبَرُ ، وَلِلَّهِ الْحَمْدُ اَلْحَمْدُ لِلَّهِ مُعِيْدِ الْجَمْعِ وَاْلأَعْيَادِ ، وَمُبِيْدِ اْلأُمَمِ وَاْلأَجْنَادِ ، وَجَامِعِ النَّاسِ لِيَوْمٍ لاَ رَيْبَ فِيْهِ إِنَّ اللهَ لاَ يُخْلِفُ الْمِيْعَادُ ، وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيْكَ لَهُ وَلاَ نِدَّ وَلاَ مُضَادَ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ الْمُفَضَّلُ عَلَى جَمِيْعِ الْعِبَادِ ، صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ وَمَنْ تَبِعَهُمْ بِإِحْسَانٍ إِلَى يَوْمِ التَّنَادِ ، وَسَلَّمَ تَسْلِيْمًا .

أَمَّا بَعْدُ : فَيَا أَيُّهَا النَّاسُ ، إِتَّقُوا اللهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلاَ تَمُوْتُنَّ إِلاَّ وَأَنْتُمْ مُسْلِمُوْنَ ، أَلاَ وَصَلُّوْا عَلَى خَيْرِ الْبَرِيَّةِ أَجْمَعِيْنَ ، وَرَسُوْلِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ ، نَبِيِّ الْهُدَى وَالرَّسُوْلِ الْمُجْتَبَى ، فَقَدْ أَمَرَكُمْ مَوْلاَكُمْ بِذَلِكَ فِيْ مُحْكَمِ كِتَابِهِ ، إِنَّ اللهَ وَمَلاَئِكَتَهُ يُصَلُّوْنَ عَلَى النَّبِىِّ يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا صَلُّوْا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا ، اَللَّهُمَّ اغْفِرْ لِلْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ اْلأَحْياَءِ مِنْهُمْ وَاْلأَمْوَاتِ بِرَحْمَتِكَ يَاأَرْحَمَ الرَّاحِمِيْنَ ،  أَعَادَ اللهُ عَلَيْنَا مِنْ بَرَكَاتِ هَذَا الْعِيْدِ ، وَجَعَلَنَا فِي الْقِيَامَةِ مِنَ اْلآمِنِيْنَ ، وَحَشَرَنَا تَحْتَ لِوَاءِ سَيِّدِ الْمُرْسَلِيْنَ ، عَلَيْهِ الصَّلاَةُ مِنْ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ ، اَللَّهُمَّ اجْعَلْ عِيْدَنَا فَوْزًا بِرِضَاكَ ياَ أَرْحَمَ الرَّاحِمِيْنَ ، اَللَّهُمَّ إِناَّ نَسْتَغْفِرُكَ وَنَتُوْبُ إِلَيْكَ مِنَ السَّيِّئاَتِ جَمِيْعًا ، اَللَّهُمَّ مَغْفِرَتُكَ أَوْسَعُ مِنْ ذُنُوْبِناَ وَرَحْمَتُكَ أَرْجَى عِنْدَنَا مِنْ أَعْمَالِنَا ، اَللَّهُمَّ اجْعَلِ التَّوْبَةَ رَاحِلَةً بِذُنُوْبِنَا قَدْ غَفَرْتَ فِيْهاَ سَيِّئَاتِنَا ،  وَرَفَعْتَ فِيْهاَ دَرَجَاتِنَا ، رَبَّنَا تَقَبَّلْ مِنَّا إِنَّكَ أَنْتَ السَّمِيْعُ الْعَلِيْمُ ، وَتُبْ عَلَيْنَا إِنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الرَّحِيْمُ  ، وَاجْعَلْنَا مِنَ الَّذِيْنَ تَجْرِيْ مِنْ تَحْتِهِمُ اْلأَنْهَارُ فِيْ جَنَّاتِ النَّعِيْمِ ، دَعْوَاهُمْ فِيْهَا سُبْحَانَكَ اَللَّهُمَّ وَتَحِيَّتُهُمْ فِيْهَا سَلاَمٌ  وَآخِرُ دَعْوَاهُمْ أَنِ الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ .

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top