วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 28:21 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> คุตบะห์อีดิ้ลอัฎฮา
คุตบะห์อีดิ้ลอัฎฮา

คุตบะห์อีดิ้ลอัฎฮา

คุตบะห์อีดิ้ลอัฎฮา
خطبة عيد الأضحى

คุตบะห์ที่ 1

اللهُ اَكْبَرُ اللهُ اَكْبَرُ اَللهُ اَكبَرُ اللهُ اَكبَرُ اَللهُ اَكْبَرُ اللهُ اَكبَرُ اَللهُ اَكبَرُ اَللهُ اَكْبَرُ اَللهُ اَكْبَرُكَبِيْرًا وَالْحَمْدُ لِلَّهِ كَثِيْرًا وَسُبْحَانَ اللهِ بُكْرَةً وَاَصِيْلاَ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَاللهُ اَكْبَرُ اللهُ أَكْبَرُ وَلِلهِ الْحَمْدُ اَلْحَمْدُ لِلّهِ الَّذِيْ مَدَّ لَنَا مَوَاعِدَ إِحْسَانِهِ وَإِنْعَامِهِ ، وَأَعَادَ عَلَيْنَا فِيْ هذِهِ الأَيَّامِ مَوَاعِدَ بِرِّهِ وَإِكْرَامِهِ ، وَخَصَّنَا بِضِيَافَةِ عِيْدِ السُّرُوْرِ عَلَى تَعَاقُبِ أَيَّامِهِ، وَجَعَلَنَا مِنْ أُمَّةِ سَيِّدِ الْمُرْسَلِيْنَ الْمُشَفِّعِ يَوْمَ الْمَحْشَرِ ، أَحْمَدُهُ وَأَشْكُرُهُ عَلَى مَا أَوْلَى مِن جَزِيْلِ النِِّعَمِ ،  وَأَسْتَغْفِرُهُ وَأَشْهَدُ اَنْ لاَ اِلَهَ إِلاَّ اللهُ عَظِيْمُ الاِفْضَالِ وَالْكَرَمِ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَنَا مُحَمَّدًا رَّسُوْلُ اللهِ سَيِّدُ الْعَرَبِ وَالْعَجَمِ ، اَللّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ ، وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ مَا هَلَّلَ وَكَبَّرَ ،                     

     أَمَّا بَعْدُ  : فَيَا عِبَادَ اللهِ أُوْصِيْكُمْ بِنَفْسِيْ أَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ .  فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِى الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ : { قاَلَ يَابُنَيَّ أَنِّيْ أَرَى فِي الْمَنَامِ أَنِّيْ أَذْبَحُكَ فَانْظُرْ مَاذَا تَرَى قاَلَ يَا اَبَتِ افْعَلْ مَاتُؤْمَرُ سَتَجِدُنِيْ اِنْ شَاءَ اللهُ مِنَ الصَّابِرِيْنَ }

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

                เป็นความปรารถนาของมุสลิมทั่วโลกที่จะได้กล่าวคำว่า   اللهُ اَكْبَرُ

                พร้อมกับได้ยินสำนวนนี้ด้วยความรู้สึกปรามปลื้มปิติยินดีไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก หรือผู้ใหญ่ ต่างส่งเสียงประกาศความเกรียงไกรของพระเจ้า แต่ละคนจัดแจงอาบน้ำ ประดับร่างกายใส่ของหอม พร้อมกับยิ้มแย้มแจ่มใส จูงลูกจูงหลานมุ่งหน้าสู่วันอีดอัฎฮา เพื่อทำการละหมาดเป็นการภักดีต่ออัลลอฮ์ที่พระองค์ได้ทรงประทานเนี๊ยะมัตให้เขาได้รับความสุข พร้อมได้มีโอกาสแสดงความกตัญญูต่อพระผู้เป็นเจ้าในการกล่าวตักเบรว่า

اَللهُ اَكْبَرُ

อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า                

لِتُكَبِّرُوا اللَّهَ عَلَى مَا هَدَاكُمْ   سورة الحج   الآية 37

ความว่า  “เพื่อพวกเจ้าจักได้แซ่ซ้องอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อย่างเกรียงไกรต่อการที่พระองค์ทรงชี้แนะแก่พวกเจ้า

                และพระองค์ทรงกล่าวไว้ในซูเราะห์อัลบากอเราะห์ว่า 

وَاذْكُرُواْ اللَّهَ فِي أَيَّامٍ مَّعْدُودَاتٍ   سورة البقرة  الآية 203

ความว่า  “และพวกท่านจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในบรรดาวันที่ถูกนับไว้

                 (คือวันที่ 11 – 13 ของเดือนซู้ลฮิจยะห์)

                ในเทศกาลอีดิ้ลอัฎฮาพี่น้องมุสลิมที่มีฐานะดีก็สนองคำสั่งใช้จากอัลลอฮ์

                ที่พระองค์ทรงกล่าวว่า

اِنَّا أَعْطَيْنَاكَ الْكَوْثَرَ فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَانْحَرْ إِنَّ شَانِئَكَ هُوَ الاَبْتَرُ   سورة الكوثر   الآية  3-2-1

 ความว่า  “แท้จริงเราได้ประทานอัลเกาซัรแก่เจ้าแล้ว (ซึ่งเป็นแม่น้ำในสวรรค์)

                ดังนั้นเจ้าจงละหมาดและจงเชือดสัตว์พลี แท้จริงศัตรูของเจ้านั้นเขาเป็นผู้ถูกตัดขาดซูเราะห์อัลเกาซัร อายะห์ที่ 1-2-3

                รายงานจากท่านหญิงอาอีชะห์ว่า

اَنَّ النَّبِيِّ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  قاَلَ : مَا عَمِلَ آدَمِيٌّ مِنْ عَمَلِ يَوْمِ النَّحْرِ اَحَبُّ اِلَى اللهِ مِنْ اِهْرَاقِ الدَّمِ  اِنَّهَا لَتَأْتِيْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ بِقُرُوْنِهَا وَاَشْعَارِهَا وَ أَظْفَارِهَا وَاَنََّ الدَّمَ لَيَقَعُ مِنَ اللهِ بِمَكَانٍ قَبْلَ اَنْ يَقََعَ عَلىَ اْلاَرْضِ     الحديث رواه الترمذي

                ความว่า   “แท้จริงท่านนบี ซ.ล. กล่าวว่าไม่มีการประกอบภารกิจใดของลูกหลานอาดัมในวันนะฮัร อันเป็นที่รักยิ่ง ณ ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไปกว่าการเชือดกุรบ่าน แท้จริงจะบังเกิดขึ้นมาในวันกียามะห์ พร้อมด้วยเขาของมัน ขนของมัน เล็บของมันและเลือดของกุรบ่าน จะเป็นที่ตอบรับ ณ ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก่อนที่หยดเลือดจะตกถึงพื้นดินเสียอีก

                การเชือดสัตว์ทำกุรบ่านเป็น  سُنَّةٌ مُؤَكَّدَةٌ  และถือว่ามักโร๊ะห์ ในการละทิ้ง ถ้าเขามีความสามารถ ดังมีรายงานจากท่านอะนัส ว่า

اَنَّ النَبِيَّّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلََّّمَ ضَحَّى بِكَبْشَيْنِ اَمْلَحَيْنِ     رواه البخاري ومسلم

                ความว่า  “แท้จริงท่านนบี (ศ้อลฯ) ได้เชือดกุรบ่านด้วยแกะสองตัว มีสีขาวปนดำมีสองเขาที่สวย

                และจากอุมมีซะลามะห์ว่า

اَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ  اِذَا رَاَيْتُمْ هِلاَلََ ذِي الْحِجَّةِ وَاَرَادَ اَحَدُكُمْ اَنْ يُضَحِّيَ فَلْيُمْسِكْ عَنْ شَعْرِهِ وَاَظْفَارِهِ     رواه مسلم

                ความว่า  “ท่านนบี (ศ้อลฯ) ได้กล่าวว่า เมื่อพวกท่านได้เห็นเดือนที่เข้าสู่ซุ้ลฮิจยะห์ และคนใดจากพวกท่านปรารถนาที่จะทำการเชือดกุรบ่าน จงอย่าตัดผม ขนและเล็บ

                คำว่าเมื่อท่านต้องการหรือปรารถนาเป็นหลักฐานถึงการเชือดกุรบ่านเป็นสุนัตไม่ถึงขั้นวายิบ ยกเว้นในกรณีที่เขาได้บนเอาไว้หรือกล่าว  هذِهِ لِلَّهِ  สัตว์ตัวนี้เพื่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) หรือ  هَذِهِ اُضْحِيَّةٌ  สัตว์ตัวนี้เพื่อทำกุรบ่านและตามทัศนะของอีหม่ามมาเล็ก กล่าวว่า ถ้าแม้นคนหนึ่งได้ซื้อสัตว์โดยมีเจตนาทำกุรบ่านก็ถือว่าจำเป็น และเพื่อเป็นการตอกย้ำ ในโอกาสต่อไปถึงเงื่อนไขเวลาเชือดให้ท่านพี่น้องทำการเชือดเมื่อเสร็จจากการละหมาดและสองคุตบะห์

                ซึ่งมีบันทึกของท่านบุคอรีและมุสลิมว่า จากท่านนบี กล่าวว่า

مَنْ ذَبَحَ قَبْلَ الصَّلاةِ فَاِنَّمَايَذْبَحُ لِنَفْسِهِ وَمَنْ ذَبَحَ بَعْدَ الصَّلاَةِ وَالْخُطْبَتَيْنِ فَقَدْ اَتَمَّ نُسُكَهُ وَاَصَابَ سُنَّةَ الْمُسْلِمِيْنَ    متفق عليه

          ความว่า   “ผู้ใดเชือดกุรบ่านก่อนละหมาด แท้จริงเขาเชือดเพื่อตัวเขาเอง และผู้ใดเชือด      กุรบ่านหลังละหมาดและสองคุตบะห์ ความจริงได้สมบูรณ์แบบการเชือดสัตว์พลีทาน และได้ประสพตามแนวทางของบรรดามุสลิม

اَللهُ اَكْبَرُ اَللهُ اَكْبَرُ اَللهُ اَكْبَرُ وَلِلَّهِ الْحَمدُ

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

                การเชือดกุรบ่านพลีทานเป็นบัญญัติจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.)  เพื่อให้มวลมุสลิมได้แสดงออกถึงความเอื้ออาทรต่อครอบครัว เพื่อนบ้านที่เป็นมุสลิมและบรรดาคนยากไร้ จึงเป็นสุนัตแก่เจ้าของกุรบ่าน ให้เขาได้ทานจากกุรบ่านของเขา และให้เป็นของกำนัลแก่เครือญาติและบริจาคแก่บรรดาคนยากจน และเพื่อปลูกจิตสำนึกถึงความอีหม่านอันแรงกล้าของเด็กชายผู้หนึ่งที่มีนามชื่อว่า อิสมาอีล พร้อมกับผู้ที่เป็นบิดาที่มีนามชื่อว่า อิบรอฮีม

อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสเล่าประวัติของอิบรอฮีม(อ.)ขณะทำการขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่า 

رَبِّ هَبْ لِيْ مِنَ الصَّالِحِيْنَ    سورة الصافات   الآية  100

ความว่า   “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงประทานบุตรที่มาจากหมู่คนดีแก่ข้าพระองค์เถิดซูเราะห์อัลอัศศ็อฟฟาต  อายะห์ที่ 100

فَبَشَّرْنَاهُ بِغُلاٍم حَلِيْمٍ   سورة الصافات  الآية   101

       (ดังนั้นเราจึงแจ้งข่าวดีแก่เขาว่าจะมีลูกคนหนึ่งที่มีความอดทนขันติ คืออีสมาอีล)

فَلَمَّا بَلَغَ مَعَهُ السَّعْيَ قاَلَ يَابُنَيَّ إِنِّيْ أَرَى فِي الْمَنَامِ أَنِّيْ أَذْبَحُكَ فَانْظُرْ مَاذَا تَرَى  قاَلَ  يَااَبَتِ افْعَلْ مَاتُؤْمَرُ سَتَجِدُنِيْ اِنْ شَاءَ اللهُ مِنَ الصَّابِرِيْنَ   سورة الصافات  الآية  102

                ความว่า  “ครั้นเมื่อ (อีสมาอีล) เติบโตขึ้นไปไหนมาไหนกับอิบรอฮีมได้(นักตัฟซีรกล่าวว่าอิสมาอีล มีอายุได้ 13 ปี) บางรายงานกล่าวว่า 7 ขวบ อิบรอฮีมได้กล่าวขึ้นว่าโอ้ลูกเอ๋ยแท้จริงพ่อได้เห็นในฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า เจ้าจงคิดดูซิว่าเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไร อิสมาอีลกล่าวว่าโอ้พ่อจ๋า พ่อจงปฎิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิด หากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงประสงค์พ่อจะเห็นว่าฉันอยู่ในหมู่ผู้ที่มีความอดทน”  ซูเราะห์อัลอัศศ็อฟฟาต  อายะห์ที่ 102

                ท่านอิบนุอับบาส กล่าวว่า ในคืนตัรวียะห์ นบีอิบรอฮีมได้ฝันว่ามีเสียงกล่าวแก่ท่านว่า โอ้อิบรอฮีมจงทำตามสิ่งที่ท่านได้บนไว้ เมื่อรุ่งสาง นบีอิบรอฮีมเกิดความสงสัยว่าความฝันนั้นมาจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) หรือซัยตอน จึงมีชื่อวันนั้นว่าวันตัรวียะห์ คืนที่สองท่านก็ฝันอีก จึงทำให้ท่านมั่นใจว่ามาจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เป็นแน่แท้ จึงมีชื่อวันนี้ว่าวันอารอฟะห์ เมื่อถึงคืนที่สาม ท่านก็ฝันเช่นดังกล่าวท่านจึงตั้งใจแน่วแน่นว่าต้องทำการเชือดบุตรสุดที่รักตามคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า จึงถูกขนานนามวันนี้ว่าวันนะฮัร นักประวัติศาสตร์เล่าว่า ในขณะอิบรอฮีมปรารถนาที่จะนำอิสมาอีลไปทำการเชือด ท่านได้กล่าวแก่ผู้เป็นมารดาของอิสมาอีลนามชื่อว่าฮายัร เธอจงสวมอาภรณ์แก่อิสมาอีลด้วยอาภรณ์ที่สวยสุด เราจะพาลูกไปเป็นแขกรับเชิญ ฮายัรผู้เป็นมารดาจึงได้ประดับประดาลูกชายสุดที่รับด้วยอาภรณ์ที่สวยหรู พร้อมกับหวีผมและใส่น้ำมันผม ท่านนบีอิบรอฮีมได้นำอิสมาอีล ออกเดินทางสู่ทุ่งมีนาพร้อมด้วยมีดและเชือก 1 มัด ขณะนั้นได้เกิดความทุรนทุรายแก่อิบลิสที่ไม่เคยมีอย่างนี้มาก่อน มันจึงกล่าวแก่อิบรอฮีมว่า เจ้าไม่เห็นหรือว่าลูกเจ้ามีรูปร่างสง่างาม บุคลิกที่เรียบร้อย น่ารัก น่าชั่งเหลือเกิน อิบรอฮีมกล่าวว่าข้ายอมรับแต่นั้นเป็นคำสั่งใช้จากพระเจ้า เมื่ออิบลีสหมดหวังจากอิบรอฮีม มันจึงมุ่งหน้าเข้าหาผู้เป็นแม่คือฮายัร ถึงอย่างไรความรักของแม่คงไม่ยอมที่จะมีคนหนึ่งนำลูกไปเชือด อิบลิสกล่าวแก่ฮายัรว่า เธอยังนั่งอยู่ที่นี่ได้อย่างไร ขณะนี้อิบรอฮีมนำลูกของเธอไปเชือด ฮายัรกล่าวว่าเจ้าอย่าโกหกเลย จะมีหรือที่พ่อจะเชือดลูกได้ลงคอ อิบลีสกล่าวกับนาง ไม่เห็นหรอกหรือว่าอิบรอฮีมนำมีดและเชือกไปด้วย ฮายัรจึงกล่าวถามขึ้นว่า เพราะเหตุใดเขาจะเชือดลูก อิบลีสตอบว่า เพราะอิบรอฮีมอ้างว่าเป็นคำสั่งใช้จากพระเจ้า ฮายัรกล่าวตอบด้วยอีหม่านอันเข้มแข็งว่า นบีอิบรอฮีมจะไม่ทำสิ่งใดยกเว้นสิ่งนั้นเป็นบัญชาใช้จากพระเจ้า และเราขอถวายชีวิตเพื่อพระเจ้าเช่นเดียวกัน อิบลีสหมดหวังจากการล่อลวงฮายัร จึงมุ่งหน้าสู่อิสมาอีลและกล่าวว่าโอ้อิสมาอีล เจ้ายังร่าเริงอยู่ได้เช่นไร เมื่อในมือพ่อของเจ้ามีเชือกเพื่อมัดเจ้าและมีดเชือดเพื่อเชือดเจ้า อิสมาอีลกล่าวว่าเจ้าอย่าโกหกเลย พ่อของข้าจะไม่เชือดข้าเด็ดขาด แต่พ่อเจ้าอ้างว่าเป็นบัญชาใช้จากพระเจ้าเป็นคำกล่าวของอิบลีส อิสมาอีลตอบ ถ้าเป็นเช่นนั้น سَمِعْنَا وَاَطَعْنَا لأَمْرِ رَبِّيْ “ข้ายินดีและยอมสิโรราบต่อคำสั่งใช้จากพระเจ้าของฉัน” ขณะนั้นอิบลิสปรารถนาจะล่อลวงด้วยวาจาโน้มน้าวอิสมาอีล อิสมาอีลจึงได้หยิบก้อนหินแล้วขว้างไปที่อิบลีส จนทำให้ลูกตาข้างซ้ายของอิบลีสถึงกับบอด

                เมื่ออิบรอฮีมพาอิสมาอีลถึงมีนา อิบรอฮีมกล่าวแก่บุตรสุดที่รักว่า

قاَلَ يَا بُنَيَّ إِنِّيْ أَرَى فِي الْمَنَامِ أَنِّيْ أَذْبَحُكَ فَانْظُرْ مَاذَا تَرَى   سورة الصافات  الآية 102

                ความว่า   “โอ้ลูกเอ๋ย แท้จริงพ่อได้เห็นในฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า จงคิดดูซิว่าเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไรซูเราะห์อัลอัศศ็อฟฟาต  อายะห์ที่ 102

( เป็นการลองเชิงจากอิบรอฮีมต่อลูกถึงความอดทนและอีหม่านของลูกหรืออาจจะเป็นการขอร้อง )

                แต่กระนั้นด้วยศรัทธาแห่งอิสมาอีลจึงได้ตอบแก่ผู้เป็นบิดาว่า

قاَلَ يَا اَبَتِ افْعَلْ مَا تُؤْمَرُسَتَجِدُنِيْ اِنْ شَاءََ اللهُ مِنَ الصَّابِرِيْنَ   سورة الصافات  الآية 102

                ความว่า   “โอ้พ่อจ๋า จงปฏิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิดหากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงประสงค์ พ่อจะเห็นว่าฉันอยู่ในหมู่ผู้ที่มีความอดทนซูเราะห์อัลอัศศ็อฟฟาต  อายะห์ที่ 102

                ครั้นเมื่ออิบรอฮีมได้ยินคำพูดที่ยอมรับภักดีต่อพระเจ้าอันเกิดจากอีหม่านอิบรอฮีมจึงมั่นใจเลยทีเดียวว่า อัลลอฮ์ทรงรับดุอาอ์ของเขาแล้ว ที่เขาได้เคยขอดุอาอ์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่า

رَبِّ هَبْ لِيْ مِنَ الصَّالِحِيْنَ  سورة الصافات  الآية 100

                ความว่า   “โอ้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) โปรดประทานบุตรให้แก่ข้าพเจ้าซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งในหมู่คนซอและห์ซูเราะห์อัลอัศศ็อฟฟาต  อายะห์ที่ 100

                อิบรอฮีมจึงได้สรรเสริญต่อพระเจ้าด้วยสำนวนการสรรเสริญ  اَلْحَمْدُ لِلَّهِ  ซ้ำแล้วซ้ำเล่า       

اَللهُ اَكْبَرُ اَللهُ اَكْبَرُ اَللهُ اَكْبَرُ وَلِلهِ الْحَمْدُ

                ครั้นเมื่อท่านอิบรอฮีมจะทำการลงมือเชือดท่านอิสมาอีลผู้เป็นบุตรสุดที่รัก อิลมาอีลได้กล่าวขอร้องต่ออิบรอฮีมว่า

ياَ اَبَتِ اُوْصِيْكَ بِاَشْيَاءَ

โอ้คุณพ่อลูกขอจากท่านในเรื่องต่อไปนี้

اَنْ تَرْبِطَ يَدَيَّ كَيْلاَ اَضْطَِربَ فَاُوْذِيْكَ

         1. โปรดมัดเชือกที่สองมือฉันในแน่นเพื่อฉันจะได้ไม่ดิ้นทุรนทุรายมันจะเป็นเหตุให้ท่านเจ็บปวด

وَاَنْ تَجْعَلَ وَجْهِيْ عَلَى اْلاَرْضِ كَيْلاَ تَنْظُرَ وَجْهِيْ فَتَرْحَمَنِيْ

           2. โปรดกดใบหน้าของฉันกับพื้นดิน เพื่อท่านจะได้ไม่ต้องเห็นใบหน้าฉันแล้วมันจะเกิดความสงสาร

وَاكْفُفْ عَنِّيْ ثِيَابَكَ كَيْلاَ يتَلَطَّخَ عَلَيْهَا شَيْءٌ مِنْ دَمِيْ فَيَنْقُصَ اَجْرِيْ وَتَرَاهُ اُمِّيْ فَتَحْزَنَ

         3. โปรดกระชับเสื้อผ้าของพ่อ เพื่อที่มันจะได้ไม่เปรอะเปื้อนเลือดของลูกและมันจะทำให้ผลบุญลดน้อยลงไปและแม่จะได้ไม่ต้องเห็นรอยเลือดซึ่งเป็นเหตุให้แม่ต้องโศกเศร้า

وَاشْحَدْ شَفْرَتَكَ وَاَسْرِعْ اِمْرَارَهَا عَلَى حَلْقِيْ لِيَكُوْنَ اَهْوَنَ فَاِنَّ الْمَوْتَ شَدِيْدٌ

         4. โปรดลับมีดให้คมกริบและรีบเฉือนที่ตรงกระเดือกของลูก เพื่อจะได้เกิดการผ่อนปรนเพราะความตายช่างแสนเจ็บปวด

وَاَنْ تَذْهَبَ بِقَمِيْصِيْ اِلَى اُمِّيْ تَذْكِرَةً لَهَا مِنِّيْ

         5. โปรดนำเสื้อของลูกไปฝากแม่ด้วยไว้เป็นที่ระลึกต่อเธอ

وَسَلِّمْ عَلَيْهَا وَقُلْ لَهَا اِصْبِرِيْ عَلَى اَمْرِ اللهِ

         6. ฝากสลามถึงแม่ด้วยพร้อมบอกแม่ว่าจงอดทนต่อคำสั่งใช้ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)

وَلاَ تُخْبِرْهَا كَيْفَ ذَبَحْتَنِيْ وَكَيْفَ رَبَطْتَ يَدَيَّ

         7. พ่ออย่าได้บอกกับแม่นะว่าพ่อได้เชือดฉันและมัดมือฉันอย่างไร

وَلاَ تُدْخِلِ الصِّبْيَانَ عَلَى اُمِّيْ كَيْلاَ يَتَجَدَّدَ حُزْنُهَا عَلَيَّ

         8. พ่ออย่านำเด็กคนใดไปพบแม่เลยเพื่อเธอจะได้ไม่ต้องเศร้าหมองอีก

وَ اِذَا رَاَيْتَ غُلامًا مِثْلِيْ فَلا تَنْظُرْ اِلَيْهِ حَتَّى لا تَجْزَعَ وَلاَ تَحْزَنَ

         9. เมื่อพ่อได้เห็นเด็กรุ่นเดียวกับลูกโปรดอย่างมองเด็กคนนั้น เพื่อพ่อจะได้ไม่ต้องหวั่นไหวและเศร้าโศก

         อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

فَلَمَّا اَسْلَمَا وَتَلَّهُ لِلْجَبِيْنِ   سورة الصافات  الآية 103

                ความว่า   “ครั้นเมื่ออิบรอฮีมผู้เป็นพ่อและอิสมาอีลผู้เป็นลูกได้ยอมมอบตนแด่อัลลอฮ์ (..)  อิบรอฮีมได้ให้อิสมาอีลคว่ำหน้าลงกับพื้นซูเราะห์อัลอัศศ็อฟฟาต  อายะห์ที่ 103

                ได้มีเล่ากล่าวต่ออีกว่า อิบรอฮีมจรดมีดที่ต้นคอของอิสมาอีลด้วยสุดกำลังที่มี แต่มีดอันคมกริบก็ไม่สามารถผ่านผิวหนังของอิสมาอีลได้เลยมวลมาลาอีกะห์ถึงกับก้มซูยุดต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ด้วยจิตที่ยอมรับความอีหม่านของพ่อลูกคู่นี้  อิสมาอีลกล่าว โอ้คุณพ่อแก้เชือกที่มัดมือและเท้าของลูกออกเถิด เพื่อแสดงว่าลูกไม่ได้ถูกบังคับ พร้อมกดหน้าลูกให้ติดพื้น จงเชือดให้แรงกว่านี้ แต่มีดก็ไม่สามารถแผ้วพานผิวหนังที่ต้นคอของอิสมาอีลเลย โอ้พ่อจ๋าความรักของพ่อต่อฉันมันทำให้พ่ออ่อนแอแล้วหรือ

                อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

وَنَادَيْنَاهُ اَنْ يَا اِبْرَاهِيْمَ قَدْ صَدَّقْتَ الرُّؤْيَا اِنَّا كَذلِكَ نَجِْزي ِالْمُحْسِنِيْنَ  سورة الصافات  الآية  105-104

                ความว่า  “และเราได้เรียกเขาว่าโอ้อิบรอฮีมเอ๋ย แน่นอนเจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว แท้จริงเช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย ซูเราะห์อัลอัศศ็อฟฟาต อายะห์ที่ 104-105

                มีรายงานเล่าว่า ยิบรออิลได้นำแกะที่ร่างใหญ่สวยงามมอบให้อิบรอฮีมเพื่อเชือดพลีเป็นการไถ่ตัวอิสมาอีล พร้อมกับยิบรออีลกล่าวประกาศความเกรียงไกรของอัลลอฮ์ว่า

اَللهُ أَكْبَرُ اللهُ أَكْبَرُ

เมื่ออิบรอฮีมได้ยินคำดังกล่าวเขาจึงกล่าวต่อ

لاَ اِلهَ إِلاَّ اللهُ وَاللهُ أَكْبَرُ

อิสมาอีลมีความซาบซึ้งถึงกับกล่าวว่า

اَللهُ أَكْبَرُ وَلِلهِ الْحَمْدُ

                สำนวนดังกล่าวนี้เป็นสำนวนที่สุดแห่งความสวยงาม จึงได้ถูกกล่าวขานก้องกังวานในวันนะฮัร

                อิบนุอับบาสกล่าวว่า หากว่าอิสมาอีลตายเพราะถูกเชือด การที่พ่อต้องเชือดลูกทำกุรบ่านก็จะกลายสภาพเป็นซุนนะห์เลยทีเดียว

اَللهُ أَكْبَرُ اَللهُ أَكْبَرُ اَللهُ أَكْبَرُ وَلِلهِ الْحَمْدُ

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

                การถนอมความรักระหว่างพี่น้องมุสลิม ทำให้ได้ความเราะห์มัต (พระเมตตา) จากพระเจ้า ทุกคนเข้าสวรรค์ของอัลลอฮ์เพราะอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงเมตตาท่านพี่น้อง กรุณาอย่าสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจแก่กันเลย ท่านนบี (ศ้อลฯ) ได้กล่าวว่า

كُلُّ الْمُسْلِمِ عَلَى الْمُسْلِمِ حَرَامٌ  دَمُهُ وَمَالُهُ وَِعرضُهُ    رواه مسلم

                ความว่า  “ทุกผู้คนที่เป็นมุสลิมห้ามละเมิดต่อพี่น้องมุสลิม ไม่ว่าการหลั่งเลือด ทรัพย์สินและศักดิ์ศรี

                และท่านนบี (ศ้อลฯ) กล่าวอีกว่า

اَلْمُسْلِمُ مَنْ سَلِمَ الْمُسْلِمُوْنَ مِنْ لِسَانِهِ وَيَدِهِ    رواه البخاري ومسلم والترمذي

                ความว่า   “มุสลิมที่แท้คือมุสลิมผู้อื่นได้ปลอดภัยจากการประทุษร้าย ด้วยวาจาและน้ำมือของเขา

                ท่านพี่น้องที่รักครับ เราคิดกันหรือยังว่าวันนี้ เราจะเริ่มขออภัยใครก่อนและขอมาอัฟเรื่องไหนก่อน ถ้าเราได้เกิดไปล่วงล้ำสิทธิ์ของผู้อื่นจนนับไม่ถ้วนไม่ว่าเกิดจากกาย วาจาและใจ เราขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ว่าให้เราปลอดภัยจาการประทุษร้ายของผู้อื่น แต่ทำไมเราต้องทำร้ายผู้อื่นด้วยเล่า

                เราขอดุอาต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่า

مِنْ شَرِّحَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ   سورة الفلق  الآية 5

                ความว่า   ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (..) ให้พ้นจากการอิจฉาของผู้อื่น ซูเราะห์อัลฟะลัก อายะห์ที่ 5 ( และทำไมเราไม่ขอดุอาต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่าอย่าให้เราไปอิจฉาใครเลย )

         ท่านนบีได้กล่าวว่า

إِيَّاكُمْ وَالْحَسَدَ فَإِنَّ الْحَسَدَ يَأْكُلُ الْحَسَنَاتِ كَمَا تَأْكُلُ النَّارُ الْحَطَبَ اَوِالْعُشْبَ    رواه البخاري ومسلم وابوداود

                ความว่า  “ท่านทั้งหลายจงระวังเรื่องการอิจฉา อันที่จริงการอิจฉามันลบล้างความดี ประดุจดังไฟที่ไหม้ฟืนหรือหญ้าแห้ง

اَللهُ أَكْبَرُ اَللهُ أَكْبَرُ اَللهُ أَكْبَرُ وَلِلهِ الْحَمدُ

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

                ท่านนบีมูฮำมัด (ศ้อลฯ) ได้กล่าวว่า

مَثَلُ الْمُؤْمِنِيْنَ فِيْ تَوَادِِّهِمْ وَتَرَاحُمِهِمْ وَتَعَاطُفِهِمْ كَمَثَلِ الْجَسَدِ إِذَا اشْتَكَى مِنْهُ عُضْوٌتَدَاعَى لَهُ سَائِرُ الْجَسَدِ بِالسَّهَرِ وَالْحُمَّى    رواه مسلم

                อุปมาพี่น้องมุมินในความรักที่มีต่อกัน ความเมตตาที่มีต่อกันความสงสารที่มีต่อกัน อุปมัยดังเรือนร่างเดียวกัน ครั้นเมื่ออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายเกิดความเจ็บปวด ทั่วเรือนร่างก็เจ็บไข้ได้ป่วยและร้อนระอุไปด้วย

                เมตตาพร้อมอภัยกันเถิดครับ แล้วเราในฐานะผู้เมตตาก็จะได้รับความเมตตาดั่งเช่นนบีมูฮำมัด (ศ้อลฯ)  กล่าวว่า

اِرْحَمُوْا مَنْ فِي اْلاَرْضِ يَرْحَمْكُم مَنْ فِي السَّمَاءِ    ذكره البيهقي في سنن الكبرى

                ความว่า  ท่านทั้งหลายโปรดให้เมตตาผู้อยู่หน้าพื้นดินผู้อยู่ในชั้นฟ้าก็จะเมตตาพวกท่าน

                พี่น้องร่วมศรัทธาครับ อภัยกันเถิดครับ อดทนซึ่งกันและกันเถิดครับ รักษาหัวใจให้สะอาดแล้วเรือนร่างภายนอกก็จะสะอาดไปด้วย พร้อมปฏิบัติตามดำรัสอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ทรงตรัสว่า

وَاسْتَعِيْنُوْا بِالصَّبْرِ وَالصَّلاَةِ   سورة البقرة   الآية 45

ความว่า   “และเจ้าจงอาศัยความอดทนและการละหมาดเถิด

                ซูเราะห์อัลบะเกาะเราะฮฺ  อายะห์ที่ 45

ใครรักใครชัง ช่างเถิด ใครเชิดใครชูชั่งเขา

ใครว่าใครบ่นทนเอา ใจเราร่มเย็นเป็นพอ

                การละหมาดนั้นทำให้จิตใจสงบ และเป็นการพักผ่อนอันยอดเยี่ยม ดังเช่นท่านนบีมูฮำมัด (ศ้อลฯ) ได้กล่าวแก่ท่าน บิล้าล ว่า โอ้ บิล้าล โปรดให้เราได้พักผ่อนด้วยการละหมาดเถิดและความอดทนก็เช่นเดียวกันทำให้ผู้อดทนนั้นหลุดพ้นซึ่งอุปสรรค์ทั้งปวง และทั้งสองนี้จะนำพาไปสู่พระเมตตาแห่งพระผู้เป็นเจ้า

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هذَا وَاَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ

 

คุตบะห์ที่ 2

الخطبةالثانيةلعيدالاضحى

            اَللهُ أَكْبَرُ اَللهُ أَكْبَرُ اَللهُ أَكْبَرُ اَللهُ أَكْبَرُ اَللهُ أَكْبَرُ اَللهُ أَكْبَرُ أَللهُ أَكْبَرُكَبِيْرًا وَالْحَمْدُ لِلهِ كَثِيْرًا وَسُبْحَانَ اللهِ بُكْرَةً وَأَصِيْلاً لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَاللهُ أَكْبَرُ اَللهُ أَكْبَرُ وَلِلَّهِ الْحَمْدُ   اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِيْ جَمَّلَ اْلاَعْيَادَ بِالسُّرُوْرِ، وَضَاعَفَ لِلْمُتَّقِيْنِ جَزِيْلَ اْلاُجُوْرِ،  وَقَبِلَ مِنَ الْحُجَّاجِ وَالْعُمَّارِسَعْيَهُمُ الْمَشْكُوْرَ ،  وَكَمَّلَ الضِّيَافَةَ فِيْ يَوْمِ الْعِيْدِ لِعُمُوْمِ الْمُؤْمِنِيْنَ  ،  أَحْمَدُهُ وَأَشْكُرُهُ عَلَى جَمِيْعِ نِعِمَّائِهِ  ،  وَأَسْتَغْفِرُهُ وَأَشْهَدُ اَنْ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ مُعِزُّ أَوْ لِيَاِئهِ ، وَأَشْهَدُ اَنَّ سَيِِّدَنَا مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ سَيِّدُ رَسُوْلِهِ وَأَنْبِيَائِهِ  ،  اَللّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ وَالتَّابِعِيْنَ  ،

             أَمَّابَعْدُ :  فَيَا عِبَادَ اللهِ  ” اِتَّقُوا اللهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلاَ تَمُوْتُنَّ إِلاَّ وَأَنْتُمْ مُسْلِمُوْنَ”  أَلاَ وَصَلُّوْا عَلَى نَبِيِّكُمْ  يَاحَاضِرِيْنَ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا ،  إِنَّ اللهَ وَمَلائِكَتَهُ يَصَلُّوْنَ عَلَى النَّبِيِّ يَاأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا صَلُّوْا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا ،

            اَللّهُمَّ اغْفِرْ لِلْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ اْلاَحْيَاءِ مِنْهُمْ وَاْلأَمْوَاتِ بِرَحْمَتِكَ يَا أَرْحَمَ الرَّاحِمِيْنَ ، اَللّهُمَّ لاَ تَدَعْ لَنَا فِي مَقَامِنَا هَذَا ذَنْبًا إِلاَّ غَفَرْتَهُ وَلاَ دَيْنًا إِلاَّ قَضَيْتَهُ وَلاَ مَرِيْضًا إِلاَّ شَفَيْتَهُ وَلاَ هَمًّا إِلاَّ فَرَّجْتَهُ وَلاَ غَمًّا إِلاَّ كَشَفْتَهُ وَلاَ عَيْبًا إِلاَّ سَتَرْتَهُ وَلاَ غَائِباً إِلاَّ رَدَدْتَهُ وَلاَ عَدُوًّا إِلاَّ خَذَلْتَهُ وَلاَ ضَالاًّ إِلاَّ هَدَيْتَهُ وَلاَحَاجَةً مِنْ حَوَائِجِ الدُّنْيَا وَاْلآخِرَةِ لَكَ فِيْهاَ رِضًا وَلَنَا فِيْهَا صَلاَحٌ إِلاَّ مَا أَعَنْتَنَا عَلَى قَضَائِهَا يَا مَوْلاَنَا يَارَبَّ الْعَالَمِيْنَ            

            رَبَّنَا تَقَبَّلْ مِنَّادُ عَاءَنَا إِنَّكَ أَنْتَ السَّمِيْعُ الْعَلِيْمُ وَتُبْ عَلَيْنَا إِنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الرَّحِيْمُ  مَوْلاَنَا دَعْوَاهُمْ فِيْهاَ سُبْحنَكَ اللّهُمَّ وَتَحِيَّتُهُمْ فِيْهَا سَلاَمٌ وَآخِرُ دَعْوَاهُمْ اَنِ الْحَمْدُ لِلهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ  .

 

คุตบะห์ฉบับไฟล์ PDF

  • ดาวน์โหลดไฟล์คุตบะห์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top